ลานคำ


พยางค์
คือเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้งจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ เช่น นา มี ๑ พยางค์, นา - ที มี ๒ พยางค์, นา - ฬิ - กา มี ๓ พยางค์
พยางค์ประกอบด้วยส่วนสำคัญอย่างน้อย สามส่วน คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ เช่น นา น้า ป้า ฯลฯ นอกจากนี้อาจมีพยัญชนะท้ายพยางค์ ( ตัวสะกด )
และตัวการันต์เป็นส่วนประกอบ

การนำพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ตัวการันต์มารวมกันเราเรียกว่า การประสมอักษร เกิดเป็นพยางค์ การประสมอักษรมี ๔ วิธี

* การประสม ๓ ส่วน คือ ประสมด้วยสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์
เช่น มา พยัญชนะ /ม/ สระ /า/ วรรณยุกต์ /เสียงสามัญ /

* การประสม ๔ ส่วน คือ ประสมด้วยสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์และต้วสะกด
เช่น มาก พยัญชนะ /ม/ สระ /า/ วรรณยุกต์ /เสียงโท / ตัวสะกดคือ /ก/


* การประสม ๕ ส่วน คือ ประสมด้วยสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ต้วสะกดและตัวการันต์ เช่น ทรัพย์ พยัญชนะ /ทร/ สระ /อะ/ วรรณยุกต์ /เสียงตรี / ตัวสะกดคือ / พ / ตัวการันต์ตือ /ย์/

* การประสม ๔ ส่วนพิเศษ คือ ประสมด้วยสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และตัว การันต์ เช่น เล่ห์ พยัญชนะ /ล/ สระ /เอ/ วรรณยุกต์ /เสียงโท / ตัวการันต์คือ /ห์/




โดย : นาง ประภาศรี สิงห์คำ, โรงเรียนชุมชน 8 ราษฎร์อุทิศพิทยา ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก, วันที่ 3 กรกฎาคม 2545