ประเพณีวิ่งควาย


เมืองชลบุรีในอดีตมีแต่ความอุดมสมบูรณ์ เรือกสวนไร่นานให้ผลผลิตมากมาย ชาวบ้านทุกครัวเรือนกินดีอยู่ดี สมบูรณ์พูนสุข ไม่มีความทุกข์หรือเดือดร้อนเลย จนกระทั้งเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้เกิดขึ้น บรรดาควายของชาวบ้านต่างเจ็บป่วยและล้มตายลงเป็นจำนวนมากโดยหาสาเหตุไม่ได้ ชาวบ้านทุกคนได้รับความเดือนร้อนเป็นอย่างมาก
วันหนึ่งผู้ใหญ่ลีกับกำนันถึงได้ปรึกษาหารือที่จะบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านว่าจะทำกันอย่างไร แต่ทั้งคู่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ตก กำนันถึงคิดได้ว่า มีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาปักกรดอยู่ท้ายนาบ้านตาอินกับยายจัน จึงไปปรึกษา ทั้งสองคนพร้อมด้วยตาอินกับนางจันก็น้ำข้าวปลาอาหารไปถวายพระธุดงค์ และอยู่ปรนนิบัติ จนกระทั้งพระท่านฉันเสร็จเรียบร้อย กำนันถึกจะเอ่ยปากจะปรึกษาแต่พระท่านก็เอ่ยขึ้นก่อน แล้วแนะวิธีให้จัดพิธีบูชาเทพเจ้าประจำเมือง แล้วขอพรจากท่าน ให้ควายหายป่วยพอหมดหน้านาก็แก้บนด้วยการนำควายมาวิ่ง
หลังจากนั้น ทั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านก็ป่าวประกาศให้ชาวบ้านได้ทราบ และเตรียมจัดพิธีบูชาเทพเจ้าประจำเมืองขอพรให้ควายหายป่วย และบนบานตามที่พระธุดงค์ได้บอกไว้ พร้อมกับดูแลควายเป็นอย่างดี
เมื่อถึงวันออกพรรษาขึ้นเดือนสิบสี่ค่ำ เจ้าของควายต่างก็ประดับประดาตกแต่งควายและเกวียนของตนให้สวยงาม ในงานนี้จะมีการเทศน์มหาชาติด้วย ต่างก็จองเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ โดยเฉพาะทศพร ตอนบ่ายก็พาควายของตนไปดื่มน้ำที่สระบัว ซึ่งเป็นการแข่งขันกันไปด้วยถือเป็นการแก้บนไปในตัว ขากลับก็ให้ความวิ่งผ่านตลาดให้คนดู
ต่อมาเจ้าของควายก็แข่งขันกันตกแต่งประดับประดาความของตนให้สวยงามและวิ่งแข่งขันกันด้วย ถือปฏิบัติกันมานาน และจากการวิ่งแข่งกันตอนบ่าย ก็เปลี่ยนมาวิ่งแย่งขันตอนเช้า และจากวิ่งเที่ยวเดียวก็วิ่งหลายๆเที่ยว จนกระทั้งถึงปัจจุบัน ประเพณีการวิ่งควายของชาวบ้านจังหวัด ชลบุรี เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ผจงวาด กมลเสรีรัตน์.นิทานพื้นบ้านภาคกลาง. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์, 2543





โดย : นางสาว Laddawan Meegul, คลองหลวง ปทุมธานี 13180, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545