ประวัติวรรณคดี


นางนพมาศ

นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนาง เรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท นางนพมาศได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ในยุคสุโขทัย เป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการ
เข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย เรื่องนี้แต่งด้วยร้อยแก้วแต่มีคำประพันธ์ลักษณะเป็นกลอนดอกสร้อยแทรกอยู่บ้าง ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกันคือ คือศิลาจารึกหลักที่ 1 และ
ไตรภูมิพระร่วง
เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย เช่น การประดิษฐ์
พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนังสือนางนพมาศ เรื่องนี้มีคุณค่าหลายอย่างคือ
1. คุณค่าทางวรรณคดี เป็นประโยชน์ในการสอบสวนราชประเพณี ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนัก ตลอดจนการปฏิบัติตนของหญิงชาววัง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ก็ทรง
สอบค้นจากหนังสือเล่มนี้
2. คุณค่าทางวิชาการช่างสตรี เรื่องนี้เป็นหลักฐานแสดงว่าผู้หญิงไทยมีนิสัยชอบการประดิษฐ์มาตั้งแต่โบราณ ซึ่งการจัดขันหมากรับรองแขกเมืองได้อย่างประณีต เป็นแบบฉบับในการจัดขันหมากในพิธีแต่งงานมาจนทุกวันนี้ และถือว่า ตำรับ
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นตำราการช่างสตรีเล่มแรกของไทย
3. คุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์ เรื่องนี้มีคุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์น้อยมาก เพราะมี
การดัดแปลงแต่งเติมภาษาและสำนวนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมมาก
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า นางนพมาศ เป็นกวีหญิงคนแรกของไทย












โดย : นาง สุกันย์ นางาม, นารีนุกูล, วันที่ 20 มิถุนายน 2545