อี คิว กับชีวิตครอบครัวยุคใหม่


E Q กับชีวิตครอบครัวยุคใหม่
ผู้ใหญ่ที่มี EQ สูง ส่วนใหญ่มักจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและเอาใจใส่อย่างดีจาดพ่อแม่ หรือผู้ปกครองในวัยเด็ก เพราะ EQ ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเหมือนอย่าง IQ จนไม่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นหรือพัฒนาได้เพียงเล็กน้อย
แต่ EQ สามารถเรียนรู้ได้ แก้ไข ปรับปรุงได้ และสร้างสรรค์ได้ตลอดชีวิต ซึ่งดูเหมือนว่า EQ จะเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จในชีวิตครอบครัวและหน้าที่การงานมากยิ่งกว่า IQ เสียด้วยซ้ำ



EQ ย่อมากจากคำว่า Emotional Quotient ซึ่งแปลเป็นไทยๆได้ว่า “ความฉลาดทางอารมณ์” คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ คือคนที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข นั่นคือสามารถจัดการกับข้อมูลทางอารมณ์ของตนเองได้อย่างชนิดที่เรียกว่าอยู่หมัดและเหมาะสมด้วย โดยปรกติแล้วบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะต้องประกอบไปด้วยบุคลิกลักษณะ 3 ประการ คือ ความดี ความเก่ง และความสุข
ความดี เป็นรากฐานที่ต้องพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก นับตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เด็กจะสามารถเชื่อมโยงอารมณ์และภาษาพูดได้อย่างถูกต้อง และจะพัฒนาอารมณ์ได้อย่างเต็มที่เหมือนผู้ใหญ่ เมื่อย่างเข้าอายุ 6 ขวบ โดยเฉพาะอารมณ์ที่ซับซ้อน เช่น ความรู้สึกผิด ความละอายใจ
ความเก่ง คนเก่งจะต้องรู้จักสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเองได้ มีความมุมานะ ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค และกล้าสู้ปัญหา พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบตามใจ จะทำให้ลูกไม่มีความมุมานะ ในที่สุดลูกจะไม่รู้ว่าตัวเองมีความสามารถอะไร เพราะไม่เคยทำอะไรเอง ความเชื่อว่าตัวเองมีความสามารถจะเกิดช่วงวัยอนุบาลต่อประถม ซึ่งความเชื่อนั้นหากเกิดขึ้นแล้วจะติดตัวไปตลอดชีวิต พ่อแม่จึงควรสนับสนุนให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัยและสอนให้เขามีเป้าหมายโดยใช้ความสามารถเป็นตัวผลักดันต่อไป และที่จะขาดเสียไม่ได้ คือคนเก่งจะต้องสามารถตัดสินและแก้ไขปัญหาที่ต้องเผชิญได้อย่างเหมาะสม ไม่พยายามหลีกเลี่ยง พร้อมกับหาทางออกที่ดีที่สุดและลงมือทำ ที่สำคัญคนเก่งต้องไม่จมอยู่กับความผิดพลาด ลงโทษตนเองเกินจริง และด่วนสรุปในทางร้าย
และสุดท้าย ความสุข คนที่สามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขได้จะต้องเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง เห็นคุณค่าและความสามารถของตนเอง แต่จะไม่โอ้อวดหรือทับถมคนอื่นๆ มีความพึงพอใจในชีวิต มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน พอใจกับชีวิตตัวเองและกับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ความพึงพอใจนี้พ่อแม่ลูกต่างสามารถเพิ่มเติมให้กันและกันด้วยการยอมรับและรักในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็น เพียงเท่านี้ฝ่ายที่ได้รับความรัก ความเข้าใจ เขาก็จะพึงพอใจและเป็นสุข
ที่สุดความสุขมักจะเกิดจากมีความสงบในจิตใจ นั่นคือรู้จักผ่อนคลายเวลาเครียดหรือมีความทุกข์ สมาชิกในครอบครัวควรมีกิจกรรมทำร่วมกันบ่อยครั้งเท่าที่ทำได้ เพียงเท่านี้ ชีวิตของทุกคนก็จะพบกับความสุขด้วยเช่นกัน
ความดี เป็นรากฐานที่ต้องพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก นับตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เด็กจะสามารถเชื่อมโยงอารมณ์และภาษาพูดได้อย่างถูกต้อง และจะพัฒนาอารมณ์ได้อย่างเต็มที่เหมือนผู้ใหญ่ เมื่อย่างเข้าอายุ 6 ขวบ โดยเฉพาะอารมณ์ที่ซับซ้อน เช่น ความรู้สึกผิด ความละอายใจ
ความเก่ง คนเก่งจะต้องรู้จักสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเองได้ มีความมุมานะ ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค และกล้าสู้ปัญหา พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบตามใจ จะทำให้ลูกไม่มีความมุมานะ ในที่สุดลูกจะไม่รู้ว่าตัวเองมีความสามารถอะไร เพราะไม่เคยทำอะไรเอง ความเชื่อว่าตัวเองมีความสามารถจะเกิดช่วงวัยอนุบาลต่อประถม ซึ่งความเชื่อนั้นหากเกิดขึ้นแล้วจะติดตัวไปตลอดชีวิต พ่อแม่จึงควรสนับสนุนให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัยและสอนให้เขามีเป้าหมายโดยใช้ความสามารถเป็นตัวผลักดันต่อไป และที่จะขาดเสียไม่ได้ คือคนเก่งจะต้องสามารถตัดสินและแก้ไขปัญหาที่ต้องเผชิญได้อย่างเหมาะสม ไม่พยายามหลีกเลี่ยง พร้อมกับหาทางออกที่ดีที่สุดและลงมือทำ ที่สำคัญคนเก่งต้องไม่จมอยู่กับความผิดพลาด ลงโทษตนเองเกินจริง และด่วนสรุปในทางร้าย
และสุดท้าย ความสุข คนที่สามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขได้จะต้องเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง เห็นคุณค่าและความสามารถของตนเอง แต่จะไม่โอ้อวดหรือทับถมคนอื่นๆ มีความพึงพอใจในชีวิต มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน พอใจกับชีวิตตัวเองและกับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ความพึงพอใจนี้พ่อแม่ลูกต่างสามารถเพิ่มเติมให้กันและกันด้วยการยอมรับและรักในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็น เพียงเท่านี้ฝ่ายที่ได้รับความรัก ความเข้าใจ เขาก็จะพึงพอใจและเป็นสุข
ที่สุดความสุขมักจะเกิดจากมีความสงบในจิตใจ นั่นคือรู้จักผ่อนคลายเวลาเครียดหรือมีความทุกข์ สมาชิกในครอบครัวควรมีกิจกรรมทำร่วมกันบ่อยครั้งเท่าที่ทำได้ เพียงเท่านี้ ชีวิตของทุกคนก็จะพบกับความสุขด้วยเช่นกัน



โดย : นางสาว วิทิตา แจ้งเอี่ยม, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 7 พฤศจิกายน 2544