สมาธิสั้น

เกรียงศักดิ์ เกตุแก่นจันทร์."สมาธิสั้น"สารานุกรมศึกษาศาสตร์.2,22(มกราคม 2544): 32-35.
สมาธิสั้น หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติทางพฟติกรรมชนิดหนึ่ง ได้แก่ การขาดสมาธิ พฟติกรรมซุกวนไม่อยู่นิ่ง ขาดความยับยั้งชั่งใจหุนหันพลันแล่น ทำอะไรไม่คิดให้รอบคอบและมีพฟติกรรมแสดงออกไม่เหมาะสมกับวัยหรือระดับพัฒนาการ ลักษณะของสมาธิสั้น คือ ไม่สนใจหรือมีความสนใจสั้นกว่าปกติและวอกแวกง่ายอยู่ไม่นิ่งและซุกซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวตลอดเวลา วิธีการช่วยเหลือ คือการรักษาด้วยยา พฟติกรรมบำบัด เช่น การปรับพฟติกรรมให้เด็กควบคุมตนเอง ครูต้องปรับกลยุทธ์ด้านการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น จิตบำบัดรายบุคคล ครอบครัวบำบัด วิธีป้องกันสมาธิสั้น มีดังนี้ การป้องกัยปฐมภูมิ ดูแลการตั้งครรภ์ให้ปกติ ไม่ให้เด็กในครรภ์ได้รับอันตราย ฝากครรภ์ให้ถูกต้องและแม่ได้รับการคลอดที่ถูกต้อง ดูแลพัฒนาการเด็กหลังคลอด ให้การเลี้ยงดูที่อบอุ่นต่อเนื่อง การป้องกันระดับทุติยภูมิ คือ ให้ความรู้เกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นแก่พ่อแม่และประชาชนทั่วไป เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจและแนวทางในการวินิจฉัยแก่บุคลากรทางการแพทย์ การป้องกันระดับตะติยภูมิ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับความภูมิใจในตนเอง มีภาพลักเกี่ยวกับตนเองในทางลบ การแก้ปัญหาการเรียน ซึ่งเด็กมีผลการเรียนตำกว่าความสามารถที่แท้จริง


โดย : นางสาว kumrai rungsiyo, student 4/3 klongluang patumtani 13180, วันที่ 26 มกราคม 2545