Genius Center
Chemistry (กรด-เบส)
เอกสารชุดนี้จัดทำเพื่อให้ความรู้เรื่องของ กรด-เบส แก่เพื่อนๆ เนื้อหาประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับกรด-เบสรวมทั้งตัวอย่างโจทย์ที่น่าสนใจ ผู้จัดทำหวังว่าเอกสารชิ้นนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆที่น่ารักทุกคน (หากมีสิ่งใดบกพร่องก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย)
จัดทำโดย Jakkrapan Jansawang (G.C.)
สารละลายอิเล็กโทรไลต์(Electrolyte Solution) = สารละลายที่นำไฟฟ้าได้ เพราะ ตัวถูกละลายแตกตัวเป็นไอออนบวกและไอออนลบ
*ตัวอย่าง สารละลายอิเล็กโทรไลต์ ได้แก่ สารละลายกรด สารละลายเบส สารละลายเกลือ
****(อิเล็กโทรไลต์แก่ แตกตัวดี นำไฟฟ้าดี อิเล็กโทรไลต์อ่อน แตกตัวไม่ดี นำไฟฟ้าไม่ดี)****
กรด&เบส
กรด แบ่งได้ 2 ประเภทคือ กรดอินทรีย์ กรดอนินทรีย์
เบส แบ่งได้ 2 ประเภทคือ เบสอินทรีย์ เบสอนินทรีย์
*กรด มี 2 ชื่อคือ กรดไฮโดร กับกรดออกซี่
Hydro = HCl* HBr HI HF HCN ฯลฯ กรดเหล่านี้ออกเสียง ไฮโดร นำหน้าแล้วตามด้วยสารที่ตามมา
*HCl = ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ หรือ กรดเกลือ
Oxy = HNO3 H2SO4 HClO3 H2CO3 * ฯลฯ กรดเหล่านี้ออกเสียง อิก ลงท้ายเสมอ * H2CO3 ไม่เสถียรจะแตกตัวให้ H2O , CO2
สมบัติทั่วไปของสารละลายกรด-เบส
กรด |
เบส |
1.เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง B R
2.นำไฟฟ้าได้
3.ทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิดได้ก๊าซ H2
4.ทำปฏิกิริยากับเบสได้ เกลือ + น้ำ |
1. เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน R B
2.นำไฟฟ้าได้
3.ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะที่อุณหภูมิปกติ
4. ทำปฏิกิริยากับกรดได้ เกลือ + น้ำ |
ทฤษฎีกรด-เบส
อาร์เรเนียส(Arrhenius) |
เบรินสเตต-ลาวรี(Bronsted-Lowry) |
1.กรด คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ H+
2.เบส คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH-
ตัวอย่าง สมการที่เป็นไปตามทฤษฎีของ อาร์เรเนียส
1.HCl(aq)+H2O(l) H3O+(aq) + Cl-(aq)
2.LiOH(s) Li+ (aq) + OH- (aq)
ข้อเสีย สารใดที่ไม่ละลายน้ำไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นกรดหรือเบส |
1.กรด คือ สารที่ให้โปรตอนแก่สารอื่น
2.เบส คือ สารที่รับโปรตอนจากสารอื่น
ข้อเสีย สารใดที่ไม่มี H+ จะบอกไม่ได้ว่าสารนั้นเป็นกรดหรือเบส
สารใดที่มี H+ แต่แตกตัวเป็นไอออนไม่ได้จะบอกไม่ได้ว่าเป็นกรดหรือเบส |
คู่กรด-เบส = สารที่เป็นคู่กรด-เบสกัน H+ ต่างกัน 1 ตัว โดยที่ คู่กรดจะมี H+ มากกว่าคู่เบส 1 ตัว
Ex.คู่กรด คู่เบส
จงหาคู่กรดของสารต่อไปนี้ (มีH+มากกว่า 1 ตัว) จงหาคู่เบสของสารต่อไปนี้ (H+ น้อยกว่า 1 ตัว)
1.H2O = |
6.NO3- = |
1.CH3COOH = |
6. HSO4- = |
2.OH- = |
7.HS- = |
2.SO2-3 = |
7. H2O = |
3.HCO3- = |
8.HSO4- = |
3.HSO3- = |
8. H2PO4- = |
4.H2PO4- = |
9. NO2- = |
4.NH4 += |
9. HCO3- = |
5.HCOO- = |
10. NH3 = |
5.HS- = |
10.HCOOH = |
ความแรงของกรดและเบส = การแตกตัวในการให้โปรตอน(กรด) ความสามารถในการรับโปรตอน(เบส)
CH3COOH (aq) + H2O (aq) CH3COO- (aq) + H3O+ (aq)
****เราต้องรู้ทิศทางการเลื่อนของสมดุลก่อน เราจึงจะบอกถึงความแรงได้****
1.ถ้าสมดุลเลื่อนไปทางขวา CH3COOH เป็นกรดแรงกว่า H3O+ / H2O เป็นเบสแรงกว่า CH3COO-
2.ถ้าสมดุลเลื่อนไปทางซ้าย H3O+เป็นกรดแรงกว่า CH3COOH / CH3COO-เป็นเบสแรงกว่า H2O
ถ้าค่า K > 1 สมดุลเลื่อนไปข้างหน้า(สารผลิตภัณฑ์มากกว่าสารตั้งต้น)
K < 1 สมดุลเลื่อนย้อนกลับ(สารผลิตภัณฑ์น้อยกว่าสารตั้งต้น)
K = 1 ไปข้างหน้าเท่ากับย้อนกลับ (สารผลิตภัณฑ์=สารตั้งต้น) ความแรงทั้ง 2 ข้างเท่ากัน
เปรียบเทียบกรดแก่กับเบสแก่
กรดแก่ |
เบสแก่ |
กรดแก่มีอะไรบ้าง
กรด Hydro = HCl HBr HI
กรด Oxy = HNO3 HClO3 HClO4 H2SO4
การแตกตัว100%
การเป็นอิเล็กโทรไลต์ = แก่ |
เบสแก่มีอะไรบ้าง
หมู่ 1 = LiOH NaOH KOH RbOH CsOH
หมู่ 2 = Ca(OH)2 Sr(OH)2 Ba(OH)2
การแตกตัว 100 % (หมู่ 2 แตก 200 %)
การเป็นอิเล็กโทรไลต์ = แก่ |
ชนิดของกรดและเบส
กรด แบ่งตามการแตกตัว แบ่งได้ 3 ชนิด
1.กรดMonoprotic แตกตัว 1 ได้แก่ HNO3 , HClO3 , HClO4 , HCN
2.กรดDiprotic แตกตัว 2 ได้แก่ H2SO4 , H2CO3
3.กรดPolyprotic แตกตัว 3 ได้แก่ H3PO4
การแตกตัวของกรด Polyprotic แต่ละครั้งจะให้ H+ ไม่เท่ากัน แตกครั้งแรกจะแตกได้ดีมาก ค่า Ka สูงมากแต่แตกครั้งต่อ ๆ ไปจะมีค่า Ka ต่ำมาก เพราะประจุลบในไอออนดึงดูด H+ ไว้ดังสมการ
H2SO4 H+ + HSO4- Ka1 = 1011
 HSO4- H+ + SO42- Ka2 = 1.2 x 10-2
เนื่องมาจากกรด Polyprotic มักมีค่า K1>>K2>>K3 H+ ในสารละลายส่วนใหญ่จะได้มาจากการแตกตัวครั้งแรก
ถ้าค่า K1 มากกว่า K2 =103 เท่าขึ้นไปจะพิจารณาค่า pH ของสารละลายกรด Polyprotic ได้จากค่า K1 เท่านั้น แต่ถ้าค่า K2 มีค่าไม่ต่ำมาก จะต้องนำค่า K2 มาพิจารณาด้วย
เบส แบ่งตาม จำนวน OH- ในเบส แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1.เบสที่มี OH- ตัวเดียว เช่น LiOH NaOH KOH RbOH CsOH
2.เบสที่มี OH- 2 ตัว เช่น Ca(OH)2 Sr(OH)2 Ba(OH)2
3.เบสที่มี OH- 3 ตัว เช่น Al(OH)3 Fe(OH)3
รวมสูตรที่ใช้คำนวณในกรณีหา กรดอ่อน เบสอ่อน ไม่ผสมกัน (Pureๆ)
สูตรที่ |
กรณี(ต้องการหาอะไร) |
กรดอ่อน |
เบสอ่อน |
1. |
หาค่า K |
Ka = [H+]2
N |
Kb = [OH-]2
N |
2. |
หา [H+] |
[H+] = [ Ka.N]^1/2 |
[OH-] = [ Kb.N]^1/2 |
3. |
หา % การแตกตัว |
% การแตกตัว =
[H+] x 100
N |
% การแตกตัว =
[OH-] x 100
N |
4. |
การรวมสูตรของ % กับ K |
% = Ka x 100
N |
% = Kb x 100
N |
แบบฝึกหัด
1.สารละลายกรด HA เข้มข้น 0.1 mol/dm3 มีค่า Ka = 4.0 x 10 5 สารละลายนี้แตกตัวได้กี่เปอร์เซ็นต์
2.จงคำนวณหาค่า [H3O+] และ % การแตกตัวของกรด HX ซึ่งเข้มข้น 0.1 mol/dm3 (Ka = 1 x 10-7)
3.กรดแอสคอบิกแตกตัวได้ 6% มีความเข้มข้น 0.1 mol/dm3จงหา [H3O+](Ka = 1 x 10 5)
****ยังมีโจทย์ เทคนิคการทำโจทย์และความรู้เพิ่มเติมอีก ในแบบฝึกหัดเสริมความรู้****
การคำนวณค่า pH , pOH , [H+] , [OH-] , H+ , OH-
รวมสูตรที่ใช้คำนวณ
สูตรที่ |
ใช้เมื่อไหร่ |
สูตรว่าอย่างไร |
1. |
หาค่าของ[H+][OH-] |
[H+][OH-] = 1.0 x 10 14 |
2. |
หาค่า pH |
pH = -log[H+] |
3. |
หาค่า pOH |
pOH = -log[OH-] |
4. |
หาค่า pH + pOH |
pH + pOH = 14 |
5.
|
หาค่า H+ , OH- |
H+ = [H+] x V หรือ OH- = [OH-] x V
1,000 1,000
ในกรณีนี้ H+ , OH- มีค่าออกมาเป็น mol |
1.กรณีหาความสัมพันธ์ค่า pH , pOH , [H+] , [OH-]
Ex.1.กรดชนิดหนึ่งมี [H3O+] = 10-4 จงหาค่า pH , pOH , [OH-]
Ex.2.เบสชนิดหนึ่งมี[OH-] = 0.003 mol/dm3 จงหาค่า pH , pOH , [H+]
Ex.3.กรดฟอร์มิก 5 โมลในสารละลาย10 ลิตรจะมีค่า pH และ จำนวน H+ เท่าใดถ้ากรดนี้แตกตัวได้ 4.5%
Ex.4.เป็ปซี่มีส่วนผสมของ H2CO3 0.01 mol/dm3 โค้กมี H2CO3 0.001 mol/dm3 จงหาค่า pH ที่ต่างกันระหว่าง เป็ปซี่กับโค้กถ้า H2CO3มีค่า
Ka = 1 x 10 -3
Note.****ความเข้มข้นมีผลต่อค่า pHไหม? = มี****
1.กรด[ ] มากค่า pH จะยิ่งต่ำลง
2.เบส[ ] มากค่า pH จะยิ่งมากขึ้น
3.กรด [H+] = 1 mol/dm3ค่า pH = 0 ถ้า[H+] > 1 mol/dm3ค่า pH < 0 คือค่า pH ติดลบ
4.เบส[OH-] = 1 mol/dm3ค่า pH = 14 ถ้า[OH-] > 1 mol/dm3ค่า pH > 14
****แนวโจทย์อื่นๆอยู่ในแบบฝึกหัดเสริมความรู้****
อินดิเคเตอร์
อินดิเคเตอร์ คือ สารที่ใช้ทดสอบกรด-เบสของสารละลาย อินดิเคเตอร์ทั่วไปมีสมบัติเป็นกรดอ่อน เป็นสารที่เปลี่ยนสีได้เมื่อ pH ของสารละลายเปลี่ยนไป *โดยทั่วไปจะใช้ HIn แทนสูตรทั่วไปของอินดิเคเตอร์ สมการการแตกตัวของอินดิเคเตอร์
HIn (aq) + H2O (l) H3O+ (aq) + In- (aq)
Ka = [H3O+][ In- ]
[ HIn]
- *ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ สามารถบอกความเป็นกรดเป็นเบสของสารละลายได้ และบอกค่า pH ได้
การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์
HIn (aq) + H2O (l) H3O+ (aq) + In- (aq)
แดง น้ำเงิน
- ถ้าเติมกรดลงไปเปรียบเสมือนเติม H3O+ สมดุลจะย้อนกลับจะได้สารละลายสีแดง
- ถ้าเติมเบสเปรียบเสมือนเติม OH- , OH- จะไปดึง H3O+ ให้กลายเป็นน้ำสมดุลเลื่อนไปข้างหน้าสารละลายเป็นสีน้ำเงิน
หลักการเลือกอินดิเคเตอร์ ควรเลือกสารที่มีการเปลี่ยนสีตามการเปลี่ยนค่า pH เเละ สีสังเกตได้ชัด
การคำนวณหาช่วง pH ช่วง pH = -log KHin + 1
Ex1.อินดิเคเตอร์ชนิดหนึ่งมีค่า KHin = 1.0 x 10-3 การเปลี่ยนสีจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำเงิน เมื่อนำอินดิเคเตอร์ นี้มาตรวจสอบสารที่มี pH = 1 , pH = 2.5 , pH = 3.4 , pH = 6 , pH = 9 สารละลายนี้จะมีสีใดตามลำดับ
วิธีหาตัวอย่าง
หาช่วง pH ก่อน จากสูตร ช่วง pH = -log KHin + 1
ช่วง pH = 3 1 = ( 2 4 )
( 2<) เหลือง |
(2-4) เขียว |
(4>) น้ำเงิน |
pH1 |
|
|
|
pH2.5 |
|
|
pH3.4 |
|
|
|
pH6 |
|
|
pH9 |
Ex.2. นายจักรพันธ์ต้องการตรวจสอบน้ำส้มสายชูของร้านก๋วยเตี๋ยว 3 ร้าน ได้ข้อมูลดังนี้
ร้านโก้อู๋ มีส่วนผสมของ CH3COOH 12%โดยกรัม/ปริมาตรจำนวน 200 cm3 ร้านโตโต้ มี CH3COOH 0.0001 mol ในน้ำ 500 cm3
ร้านนายเหลียง มี [OH- ] 1.0 x 10-10 mol/dm3 (CH3COOH มีค่า Ka = 5 x 10-7) ถ้าเขาเลือกอินดิเคเตอร์ที่มีค่า KHin = 1.0 x 10-2 โดยเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นแดงน้ำส้มสายชูแต่ละร้านจะมีสีอะไร
ประโยชน์ของอินดิเคเตอร์
1.ใช้เป็นตัวบอกจุดยุติในการติเตรต
- ถ้าติเตรตกรดแก่ เบสแก่ ใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH = 7 (เลือกใช้ประมาณ 7 เพราะ จะได้เกลือกลาง)
- ถ้าติเตรตกรดแก่ เบสอ่อน ใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH < 7 (จะเกิดเกลือกรด)
- ถ้าติเตรตกรดอ่อน เบสแก่ ใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH > 7 (จะเกิดเกลือเบส)
Ex.ในการติเตรตกรดและเบสคู่ต่างๆ ต่อไปนี้ อินดิเคเตอร์ใดเหมาะที่สุด กำหนดช่วงอินดิเคเตอร์ให้ดังนี้
อินดิเคเตอร์ A มีช่วง pH = 3 4 อินดิเคเตอร์ B มีช่วง pH = 6 8 อินดิเคเตอร์ C มีช่วง pH = 10 13
1.NaOH + CH3COOH =
2.HCl + Al(OH)3 =
.
3.H2SO4 + LiOH =
.
4.HClO3 + KOH =
.
5.Ca(OH)2 + HCN =
.
.
6.H2O + HCOOH =
.
..
7.NH4OH + HBr =
.
8.H3PO4 + B(OH)3 =
..
2.ใช้ประมาณค่า pH ของสารละลายบางชนิดได้
Ex.เมื่อนำสารละลาย X มาตรวจสอบกับ อินดิเคเตอร์ต่อไปนี้ได้ผลดังนี้
อินดิเคเตอร์ |
ช่วง pH |
การเปลี่ยนสี |
สีของสารละลาย X |
A
B
C
D |
8.3 - 10.4
6.0
6.0 - 7.6
6.7 - 8.3 |
ไม่มีสี แดง
แดง เหลือง
เหลือง น้ำเงิน
เหลือง - แดง |
ไม่มีสี
เหลือง
เขียว
ส้ม |
สารละลาย X มีค่า pH เท่าใด
หลักการคิดเมื่อเจอโจทย์เช่นนี้
เกลือ
ความหมาย 1.เกลือเกิดจาก กรดทำปฏิกิริยากับเบส ได้ผลิตภัณฑ์เป็นเกลือกับน้ำ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาสะเทิน
2.เกลือเกิดจาก การที่ไอออนบวกเข้าไปแทนที่ H+ ในกรด เช่น
3. เกลือเกิดจาก การที่ไอออนลบเข้าไปแทนที่ OH- ในเบส เช่น
ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส = ปฏิกิริยาของสารใดๆ ที่ทำปฏิกิริยาแล้วได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำกับสารใดๆ
การไฮโดรไลซิสเกลือ คือ การเอาเกลือมาทำปฏิกิริยากับน้ำ จะแบ่งเกลือตามลักษณะการไฮโดรไลซิสได้ดังนี้
1.เกลือที่เกิดจาก กรดแก่ เบสแก่ จะเป็นเกลือกลางเพราะไอออนทั้งสองไม่ทำปฏิกิริยากับ H2O Ex. เกลือกลาง NaCl KNO3
2.เกลือที่เกิดจาก กรดแก่ เบสอ่อน จะเป็นเกลือกรด เพราะไอออนของเบสอ่อนจะไปทำปฏิกิริยากับน้ำ(ไฮโดรไลซิส)
3.เกลือที่เกิดจาก กรดอ่อน เบสแก่ จะเป็นเกลือเบส เพราะไอออนของกรดอ่อนจะไปทำปฏิกิริยากับน้ำ(ไฮโดรไลซิส)
4.เกลือที่เกิดจาก กรดอ่อน เบสอ่อน เช่น NH4CN เมื่อละลายน้ำไอออนของกรดอ่อน เบสอ่อนจะไปเล่นน้ำ(ไฮโดรไลซิส)
บัฟเฟอร์(Buffer)
สารละลายบัฟเฟอร์ = สารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดนั้น or สารละลายเบสอ่อนกับเกลือของเบสนั้น(อ่อนคู่เกลือ)
สมบัติของ Buffer = สามารถควบคุมค่า pH ได้เมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่ลงไปเล็กน้อย
การควบคุมค่า pH ของ Buffer
บัฟเฟอร์Aมีสาร CH3COOH กับ CH3COO- อยู่ในระบบ
ถ้าใส่กรดลงไป HCl จะแตกให้ H+ แต่จะถูกสะเทินด้วยคู่เบส CH3COO- + H+ CH3COOH
ถ้าใส่เบสลงไป NaOH จะแตกตัวให้ OH- แต่จะถูกสะเทินด้วยคู่กรด CH3COOH + OH- CH3COO- + H2O
****กรดแก่&เบสแก่เป็น Buffer ไม่ได้เพราะแตกตัว 100 % จึงไม่เกิดคู่กรดคู่เบส****
ชนิดของ Buffer
1.คู่เหมือนไม่ทำปฏิกิริยากัน Ex. CH3COOH กับ CH3COONa
2.บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน
กรดอ่อน |
HCN |
HCOOH |
H3PO4 |
CH3COOH |
HNO2 |
H2S |
เกลือของกรดอ่อน |
KCN |
HCOONa |
NaH2PO4 |
CH3COOK |
KNO2 |
KHS |
3. บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน
เบสอ่อน |
NH4OH |
เกลือของเบสอ่อน |
NH4Cl |
หลักการการดูสารว่าเป็น Buffer หรือไม่
1.ถ้าไม่ทำปฏิกิริยากัน(คู่เหมือน)ตัดแก่ออกจะต้องมี H+ ต่าง 1ตัว
2.ถ้าทำปฏิกิริยากันอ่อนต้องเหลือ
แบบฝึกหัดบัฟเฟอร์สารใดต่อไปนี้เป็น Buffer
-ข้อ |
สาร |
[ ](mol/dm3) |
V (cm3) |
+ |
สาร |
[ ](mol/dm3) |
V (cm3) |
เป็น |
1. |
CH3COOH |
0.02 |
100 |
+ |
LiOH |
0.1 |
15 |
|
2. |
HNO2 |
0.3 |
60 |
+ |
KOH |
0.2 |
75 |
|
3. |
HCN |
2 |
30 |
+ |
NaOH |
0.5 |
100 |
|
4. |
HCl |
0.2 |
20 |
+ |
NaClO3 |
0.15 |
20 |
|
5. |
CH3COOH |
0.3 |
50 |
+ |
CH3COONa |
0.25 |
60 |
|
6. |
NaH2PO4 |
0.1 |
20 |
+ |
HClO3 |
0.3 |
20 |
|
7. |
NH3 |
2 |
50 |
+ |
NH4OH |
0.5 |
200 |
|
8. |
H2SO4 |
1 |
20 |
+ |
NaOH |
2 |
30 |
|
9. |
H2S |
0.3 |
60 |
+ |
KHS |
1 |
50 |
|
10. |
LiCl |
0.5 |
30 |
+ |
HClO4 |
0.2 |
30 |
|
11. |
HF |
2 |
50 |
+ |
NaF |
0.3 |
50 |
|
12. |
CH3COOH |
0.5 |
70 |
+ |
NaCN |
1 |
20 |
|
13. |
NaF |
0.5 |
60 |
+ |
HBr |
2 |
15 |
|
14. |
KClO3 |
0.3 |
100 |
+ |
KOH |
0.2 |
80 |
|
15. |
H2SO4 |
2 |
20 |
+ |
CH3COONa |
2 |
100 |
|
16. |
NH4Cl |
3 |
120 |
+ |
NH4OH |
1 |
200 |
|
****Technic =
..
การดูค่า pH ของ สารละลายBuffer
1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH <7
2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7
[ pHของ Buffer ใช้สูตร pH = -logKa + log [เกลือ]/[กรด]
pOHของ Buffer ใช้สูตร pOH = -logKb + log [เกลือ] /[เบส]
**** สารละลายบัฟเฟอร์จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อ [HA] = [A-]ซึ่งจะทำให้ [H+]จะเท่ากับ Ka ด้วยเหตุนี้จึงเลือกใช้บัฟเฟอร์ที่มีค่า pKa
ใกล้เคียงกับ pH ที่ต้องการเตรียม****
แบบฝึกหัด
Ex.1.สารละลายคู่กรดเบนโซอิกกับโซเดียมเบนโซเอต 10 cm3 มีค่า pH เท่าใดถ้าความเข้มข้นของกรดเบนโซอิกเป็น 2 เท่าของโซเดียมเบนโซเอตเมื่อมีปริมาตรเท่ากัน (Ka ของกรดเบนโซอิก = 5 x 10 5 )
Ex.2.จงคำนวณ pH ของสารละลายที่ได้จากการผสม NaOH 0.1 mol/dm3 จำนวน 200 cm3 กับ CH3COOH 0.2 mol/dm3 จำนวน 300 cm3
กำหนด Ka ของ CH3COOH = 1.8 x 10 5
Ex.3.ถ้าต้องการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ pH 8 ปริมาตร 40 cm3 จากเบสอ่อน 0.05 mol/dm3 ปริมาตร 20 cm3 ผสมกับเกลือของเบสนั้น
5 กรัม ในสารละลาย 20 cm3 มวลโมเลกุลของเบสที่จะใช้ต้องมีค่าเท่าใด(Kb ของเบสอ่อน = 1.0 x 10-6)
ไทเทรต
ไทเทรต คือ วิธีการหาความเข้มข้นหรือปริมาณสารของสารละลายตัวอย่าง โดยให้ทำปฏิกิริยากับสารที่ทราบความเข้มข้น
(สารละลายมาตราฐาน) และวัดปริมาตรของสารที่ทำปฏิกิริยากันพอดี
จุดสมมูลหรือจุดสะเทิน (Equivalent point) = จุดที่สารละลายทั้ง 2 ทำปฏิกิริยากันพอดี(ไม่สามารถมองเห็นได้)
จุดยุติ(End point) = คือจุดที่ยุติการไทเทรต(มองเห็นได้)
pH ของปฏิกิริยาสะเทิน ปฏิกิริยาสะเทินจุด pH ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ 7 แต่จะขึ้นอยู่กับชนิดของกรดเบสดังนี้
ข้อ |
สารที่เข้าทำปฏิกิริยา |
pH ของจุดสะเทิน |
อินดิเคเตอร์ |
1. |
กรดแก่ + เบสแก่ |
= 7 |
ได้เกือบทุกชนิด |
2. |
กรดแก่ + เบสอ่อน |
น้อยกว่า 7 |
เปลี่ยนสีเมื่อpH < 7 |
3. |
กรดอ่อน + เบสแก่ |
มากกว่า 7 |
เปลี่ยนสีเมื่อpH > 7 |
การสิ้นเปลืองสารละลายในการไทเทรต
1.ความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่าง ไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของสารว่าแก่หรืออ่อน
2.ชนิดของสารตัวอย่างว่าเป็น Monoprotic หรือ polyprotic
3.ปริมาตรของสารตัวอย่าง การดูดูได้จากสูตรการไทเทรต aN1V1 = bN2V2
การหาจุดยุติ
1.ดูจากการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์(ดูจากตารางด้านบน)
ไม่นิยมไทเทรตกรดอ่อนกับเบสอ่อนเพราะช่วง pH เปลี่ยนแปลงสั้นมากทำให้อาจคำนวณผิดพลาดไดการคำนวณความเข้มข้นจากการไทเทรต
ความรู้เก่า mol = NV/1000, N = [mol x 1000]/V
N = mol/dm3 V = cm3 mol = จำนวนmolของสาร
กรณีเป็นการเติมของแข็ง
a.mol.1000 = bN2V2
a x g/M x 1000 = bN2V2การเปลี่ยนหน่วยความเข้มข้น
mol/dm3 = % x 10 x d/มวลโมเลกุล (d = ความหนาแน่น) ใช้ในกรณีหน่วยเป็น มวล/มวล หรือ ปริมาตร/ปริมาตร
mol/dm3 = % x 10/มวลโมเลกุล ใช้ในหน่วย มวล/ปริมาตร **** ทั้ง 2 สูตรนี้ใช้ในกรณีที่โจทย์ระบุความเข้มข้นในหน่วยดังกล่าวเป็น %
Ex1.จะต้องใช้ NaOH 5 mol/l กี่ cm3 จึงทำปฏิกิริยาพอดีกับ H2SO4 2 mol/l จำนวน 200 cm3
Ex2. ต้องการไทเทรต เบสแก่X เข้มข้น 0.5 mol/dm3 จำนวน 500 cm3 จะต้องใช้ กรด Monoprotic เข้มข้น 0.3 mol/dm3 กี่ dm3 ถ้า X แตกตัวได้ 200 %
Ex3. ทินพรอยากทราบว่าในน้ำหมากของคุณยายมีส่วนผสมของ Ca(OH)2 อยู่เท่าใด ถ้าเขานำน้ำหมากมา 150 cm3 มาไทเทรตกับ HCl เข้มข้น 0.01 mol/dm3 ปรากฎว่าใช้ไป 75 cm3
Ex4.กรดแก่โมโนโปรติก จำนวน 7.5 g ทำปฏิกิริยาพอดีกับ NaOH ที่มี pH 12 จำนวน 200 cm3 ถ้านำกรดนี้มา 80 g ละลายน้ำได้สารละลาย
4 ลิตร สารละลายนี้มีค่า pOH เท่าใด
Ex5.โลหะ X 0.72 g ละลายได้หมดในกรด HCl เข้มข้น 1 mol/dm3 ปริมาตร 100 cm3 ซึ่งเมื่อสะเทินกรดนี้ด้วย NaOH ที่มากเกินพอ เข้มข้น
1 mol/dm3 จะต้องใช้ 40 cm3 ถ้ามวลอะตอมของ X = 24 เลข Oxidation ของโลหะ X ในสารประกอบคลอไรด์มีค่าเท่าใด
.
Ex 6. กรดอินทรีย์( CXHYCOOH) ซึ่งมีไฮโดรเจน 7 % เมื่อนำกรดนี้มา 0.43 g ทำปฏิกิริยาพอดีกับ NaOH เข้มข้น 0.1 mol/dm3 ปริมาตร
50 cm3 จงหาสัดส่วน X/Y
Ex7.แอนตาซิลเป็นยาลดกรดมีส่วนประกอบของ Mg(OH)2 อยู่ 29 % โดยมวล/มวล นอกนั้นเป็นส่วนผสมของแป้ง ถ้ายานี้หนักเม็ดละ
0.2 g จะต้องใช้ยานี้กี่เม็ดในการทำปฏิกิริยาพอดีกับ HCl เข้มข้น 0.02 mol/l 300 cm3
Ex8.วิตามิน C มีกรดแอสคอร์บิก( H2C6H6O6)ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เมื่อนำวิตามิน C มา 0.1 g มาติเตรตกับ NaOH เข้มข้น 0.02
mol/l จะต้องใช้ NaOH 5 cm3 จงหา % ของกรดแอสคอร์บิกในวิตามินซี
Ex9.ในการถลุงแร่จะเกิดก๊าซ SO2 เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำในอากาศจะเกิดเป็นฝนกรดดังสมการ
CuFeS2 + O2 Cu2S + 2FeO + 3SO2
ถลุงแร่ 10 ตัน ได้แร่นี้ เพียง 0.05 % ถ้าวันนี้โรงงานถลุงแร่ 200 ตัน และเขาต้องการกำจัดก๊าซ SO2 ที่เกิด โดยการผ่านน้ำและมาทำปฏิกิริยากับ Ca(OH)2 จะต้องใช้ Ca(OH)2 เข้มข้น 10 mol/l เท่าใดในการทำปฏิกิริยาให้พอดี(หน่วย dm3)
Ex 10.ในการผลิตน้ำยาขัดห้องน้ำพบว่า HCl เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิต โดยจะใช้ HCl 5 % มวล/ปริมาตร จำนวน 500 cm3 ต่อส่วนประกอบอย่างอื่น ถ้า อ.ลักษมี ต้องการกำจัดคราบหินปูนในห้องน้ำ (CaCO3) จำนวนหนึ่ง ถ้า อ.หมีใช้น้ำยาขัดห้องน้ำไปแล้วเกิดก๊าซ CO2 นำก๊าซนี้ไปละลายน้ำแล้วไทเทรตกับ NaOH เข้มข้น 1 mol/l พบว่าใช้ไป 50 cm3 อยากทราบว่า อ.หมีใช้น้ำยาขัดห้องน้ำไปเท่าใด และ อ.หมีสามารถกำจัดหินปูนไปได้กี่กรัม
**** หมั่นทำโจทย์มากๆนะจะได้เก่งๆ **** Bye!!!**Jakkrapan** |