- โครงสร้างของโลก

- ผิวเปลือกโลก ระยะ 30 - 50 กิโลเมตร ลึกลงไปจากพื้น แผ่นดินและลึกประมาณ 5 - 10 กิโลเมตร ใต้พื้นมหาสมุทร
- ชั้นหินหลอมละลาย หรือ แมนเทิล (Mantle) ความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร
- แกนใน เป็นเหล็กและนิเกิลแข็งห่อหุ้มด้วยแกนนอกที่เป็นของเหลว ความหนาราว 3500 กิโลเมตร อุณหภูมิสูงราว 4000 องศาเซลเซียส ภายใต้ความกดดันสูง
จากร่องรอยหลักฐานของพื้นแผ่นดินบนโลก สันนิษฐานว่าโลก คงเคยมีพื้นแผ่นดินเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน แต่ด้วยการเคลื่อน ไหวเปลี่ยนแปลงภายในใจกลางดวง ทำให้ผืนดินแยกตัว กระจายออกจากกัน เกิดเป็นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน คาดว่าคง จะมีทวีปใหม่ๆ กระจายมากขึ้นในอีก 10 ล้านปี ข้างหน้า
สูงขึ้นไปจากผิวโลกประมาณ 3200 กิโลเมตร มีแถบ รังสีห่อหุ้มโลก ไว้ 2 ชั้น ลักษณะคล้ายขนมโดนัท แถบรังสีนี้ถูกค้นพบเมื่อสหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมเอ๊กซ์พลอเรอร์ 1 ขึ้นไปสำรวจอวกาศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2510 เรียกว่า แถบรังสี แวน อัลเลน
โลกทำตัวเป็นแม่เหล็กยักษ์แท่งหนึ่งที่ส่งแรงออกไปโดยรอบ สนามแม่เหล็กโลกทำหน้าที่คล้าย เกราะป้องกัน โดยกักกั้นจับอนุภาคประจุไฟฟ้าพลังสูงจากดวงอาทิตย์ไว้ในเขตของแถบรังสีนี้ ไม่ให้ผ่านเข้ามาถึงผิวโลกได้โดยง่าย เมื่อเกิดการระเปิดลุกจ้าบนดวงอาทิตย์จะมีอนุภาคประจุ พัดพามากับลมสุริยะ ซึ่งอนุภาคประจุ บางส่วนสามารถผ่านแถบรังสีเข้ามาทางขั้วโลกเข้าสู่เขต บรรยากาศโลกได้ ทำปฏิกิริยากับอะตอมของ ออกซิเจนและไนโตรเจน เกิดแสงสว่างเรืองใน ท้องฟ้าแถบขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เรียกกันว่า แสงเหนือและแสงใต้
- บริวารของโลก

โลกเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่มีบริวารดวงโต คือ ดวงจันทร์ และต่าง โคจรรอบศูนย์แห่งความโน้มถ่วงร่วมกัน จึงจัดว่า โลกและดวงจันทร์เป็น ดาวเคราะห์คู่
ดวงจันทร์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร อยู่ห่าง ออกไปโดยเฉลี่ย 384,403 กิโลเมตร หมุนรอบตัวเองและโคจร รอบโลกในเวลาเท่ากัน คือ 27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 12 วินาที