ดาวหางฮัลเล่ย์


ดาวหางฮัลเล่ย์
ดาวหางฮัลเล่ย์ ( Halley’s Comet ) เป็นดาวที่ซื่อสัตย์ที่สุด เพราะมันจะปรากฏให้มนุษย์เห็นทุกๆ 75-76 ปี
ดาวดวงนี้เป็นดาวที่ใหญ่มาก เมื่อปรากฏที่ขอบฟ้าจะวิ่งด้วยความเร็วสูง เป็นปรากฏการณ์ที่น่ามหัศจรรย์ถึงกับเมื่อมันปรากฏตัวขึ้นก็ทำให้เกิดการถือโชคลางต่างๆ
ดาวหางฮัลเล่ย์นี้ตั้งชื่อเป็นเกีรยติกับนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษที่ชื่อ เอ็ดมัน ฮัลเล่ย์ ( Edmund Halley ) ซึ่งถ้าคำนวณช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ก็จะตรงกับสมัยพระ-นารายณ์ของเรา
หลังท่านเรียนจบออกซ์ฟอร์ดแล้ว ท่านก็คร่ำเคร่งกับการศึกษาดวงดาวและเริ่มหงุดหงิดในแง่ที่ว่า เมื่อศึกษาเรื่องดาวหางแล้ว ดาวหางดูเป็นปรากฏการณ์พิเศษที่ไม่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ใดของจักรวาลที่นักวิทยาศาสตร์ตะวันตกได้ศึกษามาเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่เกี่ยวกับกฎแรงดึงดูดของจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
กฎที่ว่าด้วยแรงดึงดูดนี้เป็นกฎที่ ไอแซ็ก นิวตัน ค้นพบ และเป็นที่ฮือฮากันมากในสมัยนั้น ที่สำคัญคือ ฮัลเล่ย์ รู้จักกับ นิวตัน เป็นอย่างดีและยังเป็นเพื่อนกันอีกด้วย ท่านเลยนำทฤษฎีของ นิวตัน ไปประยุกต์กับความรู้เรื่องการโคจรของดาวหาง แล้วก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ดาวหางที่มาเยือนโลกมนุษย์เมื่อปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 น่าจะเป็นดาวหางดวงเดียวกันทั้ง 3 ดวง
ฮัลเล่ย์ได้เสียชีวิตลงเมื่อปี ค.ศ. 1742 เมื่อท่านอายุได้ 86 ปี
ที่มา : หนังสือเรื่องวิถีไทย การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ของ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ



โดย : เด็กชาย กันต์ดนัย วิสุทธิ์สิริ, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 19 มกราคม 2545