พิชิตขั้วโลกใต้

ความสนใจเริ่มฟื้นคืนมาอีกอย่างช้าๆ แล้วบรรดานักสำรวยและนักวิทยาศาสตร์เริ่มหันกลับมาดูกันอีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับทางขั้วโลกเหนือ แรงปรารถนาเพื่อเกียรติภูมิของชาติและตัวเอง รวมทั้งโอกาศที่จะได้ผจญภัยอันยากที่จะต้านทานได้ คณะสำรวจประเภทสมัครเล่นแบบเก่าลดลง แทนที่ด้วยนักสำรวจรุ่นใหม่ประเภทมืออาชีพที่ปฏิบัติงานแย่างจริงจังและมีการเตรียมพร้อมอย่างดี อย่างเช่น แนนเซนและอะมุนด์เซน ในปี พ.ศ. 2441-42 คณะสำรวจเบลเยียมประสบความสำเร็จในการเดินทางช่วงฤดูหนาวในเขตแอนตาร์กติกเป็นครั้งเรก ลูกเรืออย่างน้อยที่สุด 2 คน เป็นนักผจญภัยแถบขั้วโลกผู้มีประสบการณ์สูง
นั่นคือ ด.ร. เฟรเดอริกคุก ผู้เป็นหมอ และโรอัลด์ อะมุนด์เซนซึ่ง เป็นผู้ช่วยกัปตัน ติดตาม มาด้วยคณะสำรวจหลายคณะ บางคณะเป็นคณะเล็กๆ และใช้จ่ายเงินส่วนตัว บางคณะก็ใหญ่และมาอย่างเป็นทางการ การมาถึงของชาวเยอรมัน ชาวสวีเดน และชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2444 ยืนยันถึงการเป็น “ปีแห่งแอนตาร์กติก” ทุกฝ่ายต่างมุ่มสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และภูมิศาสตร์ไว้เป็นจำนวนมาก
หลังจากช่วงฤดูหนาวอันยากลำบากเมือเรือของคณะสำรวจ ชาวสวีเดนเข้าไปติดแน่นอยู่ในน้ำแข็ง ลูกเรือหลายคนไม่สามารถไปถึงเรือนั้นได้ ต้องใช้เวลาหลายเดือนอยู่ในกระท่อมหินหลังเล็กๆ ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยเนื้อเพนกวิน แตตในที่สุดก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้พร้อมด้วยข้อมูลและวัตถุดิบมากมาย
แหล่งที่มา
อัจฉรา ลิมุเมธี.ตำนานสุดยอดนักพจญภัยสำรวจโลก,กรุงเทพ:ด่านสุทธาการพิมพ์,2540




โดย : นางสาว ่manapat janopast, 4/3klonglaung pratumtane13180, วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2545