จันทราพิสูจน์หลุมดำ


จันทราพิสูจน์หลุมดำในทางช้างเผือก
จนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์เชื่อว่าในใจกลางของดาราจักรจะมีหลุมดำอยู่เสมอ รวมถึงดาราจักรทางช้างเผือกของเราด้วย ดาราจักรของเรามีหลุมดำที่มีมวล 2.6 ล้านเท่าของอาทิตย์อยู่ ถึงแม้ใจกลางหลุมดำในดาราจักรนี้จะมองไม่เห็นได้โดยตรง แต่สามารถพิสูจน์ได้โดยการสังเกตและตีความจากการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ข้างเคียงซึ่งถูกรบกวนด้วยแรงดึงดูดจากหลุมดำ
แต่นักดาราศาสตร์บางคนตั้งข้อสงสัยว่าใจกลางดาราจักรทางช้างทางเผือกมีความมืดและสงบกว่าปรกติ ผิดวิสัยหลุมดำกลางดาราจักรทั่วไป และตำแหน่งของวัตถุนั้นก็มีเพียงการแผ่รังสีรังสีวิทยุและรังสีอ่อนๆออกมาเท่านั้น ถ้ามีหลุมดำอยู่จริง ก็น่าจะมีการแผ่รังสีเข้มข้นออกมา เพราะบริเวณรอบใจกลางดาราจักรมีสสารคอยให้หลุมดำกลืนกินมากมายอยู่แล้ว หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะหลุมดำดูดกินสสารอย่างมีประสิทธิภาพมากดจนมีพลังงานเล็ดลอดออกมาน้อยมาก
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เสนอทฤษฏีขึ้นมาหลายทฤษฏีเพื่ออธิบายว่าสิ่งที่อยู่ในใจกลางดาราจักรคืออะไรถ็าไม่ใช่หลุมดำ เช่น อาจเป็นดาวฤกษ์ที่กระจุกตัวอยู่เป็นก้อนเมฆขนาดใหญ่เป็นแหล่งนิวตริโน หรืออาจเป็นกระจุกของสสารมืดบางอย่างก็ได้
“ตอนนี้ทฤษฏีพวกนั้นตกกระป๋องไปหมดแล้ว มันเป็นหลุมดำแน่นอน” เฟรเดอริก บากานอฟ จากเอ็มไอทีกล่าวไว้ในวารสาร Nature เพราะจากการสำรวจโดยสถานีสังเกตการณ์จันทรา ซึ่งมีความไวในย่านรังสี เอกซ์สูงมาก ได้พบว่ารังสีที่แผ่ออกมาจากจุดใจกลางของดาราจักรทางช้างเผือกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก บางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากเพียง 10 นาทีเท่านั้น ภายในช่วงเวลาดังกล่าว แสงเดินทางได้เป็นระยะทางไกลกว่า 1หน่วยดาราศาสตร์เล็กน้อยเท่านั้น แสดงว่าแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์นั้นจะมีขนาดไม่เกินไปกว่านี้ ตามทฤษฏีสัมพันธภาพทั่วไป ถ้าวัตถุขนาดนี้มีมวล 2.6 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ จะกลายเป็นหลุมดำอย่างรวดเร็ว
จากวารสารทางช้างเผือก สมาคมดาราศาสตร์ไทย



โดย : นาย นพพล คงแก้ว, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 9 พฤศจิกายน 2544