ฟักทอง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucurbita moschata Decne.

วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่อท้องถิ่น น้ำเต้า (ภาคใต้) มะพร้าว (ภาคเหนือ)
มะน้ำแก้ว (เลย) หมักอื้อ (เลย - ปราจีนบุรี)

ลักษณะของพืช พืชล้มลุกที่มีเถายาวเลื้อยไปตามพื้นดิน มีหนวดยาวที่ข้อ ใบสีเขียวใบไม้
มีหยัก 5 หยักด้วยกัน ผิวใบถ้าจับดูจะรู้สึกว่าสาก ดอกสีเหลืองเป็นรูปกระดิ่ง ผลมีขนาดใหญ่
ลักษณะกลมแบน ผิวขรุขระเนื้อในเป็นสีเหลืองถึงเหลืองมอมส้มและเหลืองอมเขียว

การปลูก ใช้เมล็ดปลูก ต้องพรวนดินให้ร่วนแล้วหยอดเมล็ดลงไปในหลุมที่ขุดลึกประมาณ 1 คืบ
รดน้ำทุกวันจนกว่าจะงอกฟักทองชอบดินร่วนเบา

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดฟักทองแก่

รสและสรรพคุณยาไทย รสมัน แต่ไม่มีระบุในสรรพคุณยาไทย

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เมล็ดฟักทองมีสารเคมีประกอบอยู่ด้วยหลายชนิดมีไขมันประมาณร้อยละ 40
มีแป้งอีกด้วย โปรตีนก็มีอยู่อีกจากรายงานพบว่าสามารถฆ่าพยาธิได้ทันที

วิธีใช้ ใช้เมล็ดฟักทองถ่ายพยาธิลำไส้ เหมาะกับการถ่ายพยาธิตัวตืดโดยใช้เมล็ดฟักทองประมาณ 60 กรัม
ทุบให้แตกผสมน้ำตาลกับน้ำนม หรือเอาน้ำสะอาดเติมลงไปจนได้ปริมาณ 500 มิลลิลิตรแบ่งรับประทานรวม 3 ครั้ง
ห่างกันทุก 2 ชั่วโมงหลังจากที่ให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ให้รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตามเพื่อให้ถ่ายพยาธิออกมาได้

คุณค่าทางอาหาร ฟักทองโดยทั่วไปปลูกเป็นพืชสวนครัว เพราะยอด เนื้อใน ผลผลอ่อนเมล็ดฟักทอง
เอามารับประทานอาหารได้ดีทำได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวานมีสารอาหารครบครันที่สำคัญได้แก่
วิตามิน เอ ฟอสฟอรัสคาร์โบไฮเดรท เนื้อในของผลมีสารอาหารมากกว่ายอดอ่อน ส่วนเมล็ด
ของฟักทองก็มีแป้งและน้ำมัน รสมัน

ที่มา:http://www.samunpai.com






โดย : นางสาว อาริยา พันธ์หีม, โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์, วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545