สารที่ลื่นดุจผิวน้ำแข็ง


สารกันติด ซึ่งใช้ฉาบผิวพายในของเครื่องครัวสมัยใหม่นั้น นับเป็นสารซึ่งมีความลื่นที่สุดเท่าที่มนุษย์จะผลิตขึ้นมาได้โดยอาศัยเทคโนโลยี สารนี้มีอัตราความเสียดทานพอๆกับน้ำแข็ง ดังนั้นถ้าเอาไปเคลือบพื้นผิวถนน เราจะเดินหรือขับรถไปตามถนนนั้นเกือบไม่ได้ ทีเดียว
สารกันติดหรือสารเคลือบลื่นซึ่งเรียกว่า พีทีเอฟอี ช่วยให้เราทอดไข่หรือทำไข่กวนโดยไม่ติดกะทะ คุณสมบัติที่ลื่นเช่นนี้ทำให้พีทีเอฟอีเป็นสารซึ่งเหมาะที่สุดสำหรับใช้เคลือบพื่นผิวอย่างเช่น พื้นผิวของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ต้องหมุนไปโดยเกิดความเสียดทานน้อย ที่สุด
พีทีเอฟอีเป็นสารน่าทึ่งที่สุดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ความลื่นไม่ใช่คุณสมบัติที่มหัศจรรย์เพียงอย่างเดียวของพีทีเอฟอี สารนี้ยังทนอุณหภูมิทั้งสูงและต่ำมากได้ดี ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า และเกือบไม่มีสารเคมีใดๆทำอันตรายต่อสารนี้ได้



พีทีเอฟอีย่อมาจากพอลิเททระฟลูออโรเอธิลีน ดร.รอย พลังเค็ตต์ วิศวกร ชาวอเมริกัน ค้นพบสารนี้โดยบังเอิญในปี ค.ศ.1938 ขณะที่ทดลองเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ทำความเย็นให้แก่บริษัทดูปองต์ สิ่งที่เขาค้นพบนี้ บริษัทดูปองต์ให้ชื่อการค้าว่า เทฟลอน
สารเคมีธรรมดา รวมทั้งกรดและด่างที่ร้อนจนเดือด หรือแม้แต่กรดกัดทอง(สารผสมระหว่างกรดเกลือและกรดดินประสิวอย่างเข้มข้น) ซึ่งละลายเงินและทองได้ ก็ไม่อาจทำความเสียหายแก่พีทีเอฟอีได้ มีเพียงโซเดียมหลอมเหลว แคลเซียมหลอมเหลวและฟลูออรีนที่ร้อนจัดเท่านั้นที่สามารถทำอันตรายสานี้ได้
พีทีเอฟอีมีความเฉื่อยทางเคมี ซึ่งหมายความว่า ไม่มีผลเสียหายต่ออาหารที่หุงต้มในภาชนะที่เคลือบด้วยสารนี้ อันที่จริงสารพีทีเอฟอีไม่มีผลใดๆต่อสารอินทรีย์ทุกชนิด ซึ่งรวมถึงเนื้อเยื่อมนุษย์ด้วยดังนั้นจึงสามารถนำไปใช้ในศัลยกรรมอวัยวะเทียมได้ดี ความลื่นของสารนี้จะทำให้ข้อเทียมงอไปมาได้ง่าย นอกจากนั้นยังใช้ทำเป็นเส้นไยผสมคาณ์บอนเพื่อซ่อมเสริมกระดูกใบหน้าได้อีกด้วย




พีทีเอฟอียังมีคุณสมบัติสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความสามารถต้านทานกระแส ไฟฟ้า ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับใช้ทำปลอกหุ้มสายไฟเป็นที่สุด สารนี้คงความยืดหยุ่นได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ –270 ถึง 240 องศาเซลเซียส
ฉนวนที่ทำจากพีทีเอฟอีนิยมใช้ทำสายไฟในยานอวกาศ ซึ่งต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่เย็นจัดและร้อนจัด
ยานอวกาศได้รับความร้อนสูงมากเมื่อถูกแสงอาทิตย์ในขณะโคจรรอบโลก และจะเย็นลงจนอุณหภูมิลดต่ำกว่าศูนย์มากเมื่อเข้าไปสู่ในเงาของโลก
การเกิดของสารพีเอฟอี ขณะที่ทำการทดลองกับแก๊สเททระฟลูออโรเอธิลีนเพื่อหาสารทำความเย็น ตัวใหม่ ดร.รอย พลังเค็ตต์ค้นพบว่า เมื่อแก๊สดังกล่าวได้รับความร้อนก็จะได้สารพีทีเอฟอี ซึ่งมีลักษณะเหมือนผงยางไม้
เนื่องจากพีทีเอฟอีเป็นสารที่หลอมละลายได้ยากมาก จึงต้องนำมาผสมกับสารทำให้เกิดการจับตัวกันได้ แล้วเอาใส่พิมพ์ เมื่อนำไปให้ความกดดันและความร้อนสูง ผงพีทีเอฟอีก็จะรวมตัวเป็นก้อนแข็ง
เมื่อจะทำเครื่องครัวประเภทกันติด ก็นำผงพีทีเอฟอีไปผสมกับน้ำ ฉีดพ่นลงบน พื้นผิวของภาชนะที่ต้องการแล้วนำไปอบ



โดย : นาย ชาญกิจ อนันต์โชติกุล, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 10 พฤศจิกายน 2544