โลกหลงสำรวจในอวกาศ


ดาวเคราะห์ที่เอื้อต่อการมีสิ่งมีชีวิต อาจจะก่อตัวขึ้นได้จากมวลสารในอวกาศ แนวคิดนี้มีรายงานในวารสาร Nature นักวิทยาศาสตร์ด้านดาวเคราะห์ที่ชื่อ เดวิด สตีเวนสัน เสนอว่า อาจะเป็นไปได้ที่มวลสารหินขนาดเทียบเท่ากับขนาดของโลก ที่โดนรบกวนด้วยแรงดึงดูดโน้มถ่วงจนหลุดออกจากระบบสุริยะขณะก่อตัว และถึงแม้จะขาดพลังงานจากดวงอาทิตย์ แต่ก็ยังคงรักษาสภาพที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตอยู่ได้








ดาวเคราะห์ที่หลุดออกมานี้ เป็นไปได้ที่จะพาบรรยากาศไฮโดรเจนไปกับดาวด้วย บรรยากาศนี้สามารถกักความร้อนที่เกิดขึ้นภายในดาวเคราะห์ไว้ได้ และอาจจะสร้างแรงกดอากาศมากพอที่จะทำให้เกิดมหาสมุทรบนผิวดาวเคราะห์ได้ด้วย
นอกจากนั้น ก๊าซแอมโมเนีย และก๊าซมีเทนในบรรยากาศ อีกทั้งความร้อนจากภูเขาไฟ หินหลอมละลายบนผิวดาว องค์ประกอบเหล่านี้ไม่ต่างจากโลกของเราเมื่อตอนที่สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดเป็นครั้งแรกเมื่อ 4 พันล้านปีมาแล้วเลย

สิ่งที่ดาวเคราะห์นี้ขาดไปก็คือ แหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ ถ้าหากว่า สิ่งมีชีวิตพัฒนาและดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องการแสงอาทิตย์ (อาจจะใช้พลังงานจากภูเขาไฟ หรือฟ้าผ่า) สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็จะมีอายุยืนยาวไม่ใช่น้อยในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างเสถียร (เช่น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงเพียงแค่ 1 องศาในช่วงพันล้านปี)

ชีวมวลและความซับซ้อนคงมีน้อยเนื่องจากมีแหล่งพลังงานขนาดเล็ก แต่เราก็เห็นภาพได้ว่า นี่เป็นสถานที่แห่งชีวิตธรรมดานี่เอง

ความดันและอุณหภูมิของมหาสมุทรจะคล้ายคลึงกับก้นมหาสมุทรบนโลก ที่ซึ่งเรารู้ว่า ชีวิตดำรงอยู่ได้โดยอาศัยความร้อนและสารอาหารจากน้ำร้อนที่พุ่งออกมาจากพื้นมหาสมุทร

แนวคิดของสตีเวนสันดูน่าสนใจ แต่ก็พิสูจน์ได้ยากมาก แม้จะมีการเปล่งรังสีความร้อนและคลื่นวิทยุอยู่บ้าง แต่ดาวเคราะห์แบบนี้ก็แทบจะมองไม่เห็นอยู่ดี



http://www.rb.ac.th/student/spaceandhuman/t15.html



โดย : นาย kraengkai kamonwech, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัม, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545