การสาบสูญของมหาสมุทร


นาย ฌากส์ คอสเตอร์ นักสมุทรศาสตร์ และนักสงวนพันธุ์สัตว์ป่าเสนอเรื่องราวที่น่ากลัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อันเป็นผลมาจากการแสวงผลประโยชน์ของมนุษย์ และมลภาวะในมหาสมุทรของโลก ถ้าทุกสรรคสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรทุกแห่งสูบสิ้นโดยฉับพลัน การเน่าสลายของซากศพต่างๆที่มาจากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็จะส่งกลิ่นเหม็นตรลบอบอวลไปทั่ว และกลิ่นเหม็นดังกล่าวก็จะขับไล่ประชาชนออกจากชายฝั่งทะเลอันอุดมสมบูรณ์ ไปสู่พื้นที่ในแถบภูเขา และพื้นที่ราบสูง ซึ่งไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการไหลบ่าเข้ามาอย่างท่วมท้นของผู้อยู่อาศัยใหม่ๆเท่าใดนัก และที่เลวร้ายที่สุด จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น โดยปล่อยให้กลไกต่างอยู่กับชีวิตใต้น้ำที่ไม่ช่วยให้เกิดดุลยภาพในส่วนของเกลือแร่ และก๊าซ ซึ่งก๊าซนั้นจะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างปฏิกิริยาเรือนกระจก ยิ่งไปกว่านั้น การแผ่ขยายความร้อนของโลกไปสู่อวกาศจะถูกยึดไว้ภายใต้บรรยากาศชั้น สตราโตสเฟียร์ อุณหภูมิในน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือจะหลอมละลาย ก่อให้เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน และผลสุดท้ายในระยะเวลา 30 – 50 ปี หลังจากโลกที่เราอาศัยอยู่ได้สูญสิ้นไปแล้ว เวลาแห่งการดับสูญของมนุษยชาติก็มาถึง ประชากรก็จะอยู่อาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในพื้นที่ที่เป็นน้ำทะเลที่เสื่อมสภาพแล้ว หรือไม่ก็ บริเวณภูเขาหัวโล้นต่างๆ และได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้ง การแพร่ระบาดของเชื้อโรค และบรรยากาศที่รุนแรงต่าง ซึ่งในท้ายที่สุด มนุษยชาติจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อสภาวะพิษนี้ หรือการขาดแคลนออกซิเจน และแล้วสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ก็จะลดน้อยลง เชื้อแบคทีเรีย และแมลงบางชนิด อาจจะยังคงหลงเหลืออยู่บนโลก ถ้าเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นจริง ซึ่งแน่นอนว่า กระบวนการแห่งความสูญสิ้นเหล่านี้อาจเริ่มต้นด้วยการสร้างมลภาวะในทะเล และมหาสมุทร ด้วยเหตุนี้จึงเป็นช่วงเวลาอันดีที่จะเริ่มต้นศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงความเป็นสุญญกาศของโลก และหันไปศึกษาดวงดาวอื่นๆ ด้วยความหวังว่า ดาวดวงนั้นจะมีน้ำในปริมาณมากพอที่จะใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคตก็เป็นไปได้




โดย : นางสาว มิ่งขวัญ แก้วบำรุง, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 11 พฤศจิกายน 2544