โรควัวบ้า




โรควัวบ้า (mad cow disease) คือโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonotic Disease)ชนิดหนึ่ง ที่เริ่มต้นพบโรคในแกะ แล้วข้ามสายพันธุ์ไปสู่วัว จนไปสู่มนุษย์ ดังนั้นโรค จะมี 3 version กล่าวคือ ในแกะเรียก scrapie ในวัวเรียก bovine spongiform encephalopathy (BSE) และในคนคือ variant Creutzfeldt-Jakob disease (vCJD) เป็นกลุ่มย่อยหนึ่งในกลุ่มโรค transmissible spongiform encephalopathies (TSE) บางครั้งเรียกกลุ่มโรค prion diseases
ลักษณะของการเกิดโรค จะมีการทำลายเซลล์สมอง (neurone) เนื้อเยื่อสมอง (nervous tissue) แบบ irreversible จนเกิดเป็นรอยพรุน มองดูจากกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นเป็นโพรงว่างแทรกอยู่ใน เนื้อเยื่อสมอง มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เรียกว่า "แบบฟองน้ำ" (spongiform) หรือได้สมญานามว่า "ตัวกินสมอง"(brain eater) โดยจะเกิดที่ระบบประสาทสมองส่วนกลาง (central nervous system)
โรควัวบ้านั้น เป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต เริ่มจากมีอาการกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน กระตุก จนเสียชีวิต ในสัตว์ ในคนนั้น จะเริ่มจากอาการซึมเศร้า (depression) หรือกระวนกระวาย (anxiety) หรือเกิดอาการทางประสาท (schizophrenia-like psychosis) การเคลื่อนไหวไม่ราบเรียบสม่ำเสมอ (unsteadiness) ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ (involuntary movement) จนแน่นิ่งขยับตัวไม่ได้ (completely immobile) และตายในที่สุด
ภก.ประธาน ประเสริฐวิทยาการ รวบรวม/เรียบเรียง
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ที่ปรึกษา/ปรับปรุง
http://www.charpa.co.th/bulletin/MadCowDisease.html




โดย : นาย rangsun sodsaithong, 4/3 Klonglaung Prathumtanee 13180, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2545