ดาวหาง


จุดกำเนิดของดาวหาง
ดาวหางเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับการก่อตัวขึ้นของระบบสุริยะ ชิ้นส่วนและกลุ่มแก๊สที่เหลือจากการสร้างระบบสุริยะและไม่ได้ถูกแรงดึงดูดจากศูนย์กลาง จะก่อตัวเป็นแถบเมฆขนาดใหญ่ ล้อมรอบดวงอาทิตย์อยู่ โดยห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 1 – 2 ปีแสง

ส่วนประกอบของดาวหาง
1. ส่วนหัว
1.1 นิวเคลียส ( Nucleus ) นิวเคลียสของดาวหางประกอบด้วย น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และมีเทน ซึ่งอยู่ในสภาพเยือกแข็ง ปะปนด้วยกรวด ทราย และฝุ่น
1.2 โคมา ( Coma ) คือกลุ่มแก๊สและฝุ่นที่ระเหิดออกมาจากนิวเคลียสและห่อหุ้มนิวเคลียสไว้ โดยทั่วไปโคมาจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ย 100,000กิโลเมตร
2. ส่วนหาง
2.1 หางแก๊สหรือหางพลาสมา ( Gas tail or plasma tail ) เกิดจากกลุ่มแก๊สที่แตกตัวออกมาจากนิวเคลียสและโคมา มีลักษณะเป็นหางตรง
2.2 หางฝุ่น ( Dust tail ) เกิดจากฝุ่นที่ถูกขับออกมาจากนิวเคลียสและโคมา มีลักษณะโค้ง ดาวหางส่วนใหญ่จะมีทั้งหางแก๊สและหางฝุ่น หางแก๊สจะยาวกว่าหางฝุ่น นอกจากนั้นอาจจะมีห่างฝุ่นมากกว่า 2 หางก็ได้ หางของดาวหางมีความยาวตั้งแต่ 1 – 100 ล้านกิโลเมตร



โดย : นางสาว พาวรรณ ลิ้มวรพทักษ์, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 12 พฤศจิกายน 2544