การโคลนนิ่งDNA ปลอดภัยจริงหรือ

E.coli เป็นเชื้อที่ปกติจะอาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ มีกลไกอะไรบ้างที่จะ ป้องกันไม่ให้ E.coli ที่เปลี่ยนรูปไปในห้องปฏิบัติการหลุดรอดออกไปและก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ ? นักวิจัยได้ตระหนักถึงความน่ากลัวของเหตุการณ์นี้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงได้เลือกใช้ E.coli สายพันธุ์ที่ปรับปรุงให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในธรรมชาติในการทำโคลนนิ่งเท่านั้น โดยสายพันธุ์นี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามมี E.coli ตามธรรมชาติหลายสายพันธุ์ที่มียีนที่ทำให้ตัวมันเองทนทานต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้กันโดยทั่วไป ในบางที่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะมี E.coli ที่ต้านทานยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างแพร่หลายบางชนิด เช่น Ampicillin และ Kanamycin อยู่ในลำไส้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของห้อง ปฏิบัติการแต่อย่างได แต่เกิดขึ้นเพราะการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงอย่างกว้างขวาง ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าการที่ plasmid จะ transform เข้าไปในแบคทีเรียจะเกิดขึ้นได้ง่ายมากในธรรมชาติซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะมีโอกาสที่ จะเกิดเชื้อ E.coli ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงอีกทั้งยังต้านยาปฏิชีวนะทำให้กำจัดได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้นยังมีโอกาสที่ plasmid ที่มียีนต้านยาปฏิชีวนะจะสามารถถ่ายโอนไปยังแบคทีเรียชนิดอื่นที่เป็นอันตรายมากขึ้น จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการทำโคลนนิ่ง DNA ในห้องปฏิบัติการไม่ได้มีความเสี่ยงอย่างที่หลายคนเข้าใจ ในทางกลับกันในธรรมชาติการที่มนุษย์เดินทางไป ทั่วโลกเพื่อท่องเที่ยวหรือการติดต่อธุรกิจ (เป็นการแพร่ยีนอย่างหนึ่ง) รวมทั้งการใช้ยารักษาโรคและยากำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ระมัดระวังจะทำให้เกิดอันตรายมากกว่าหลาย เท่าตัวนัก
--------------------------------------------------------------------------------

แปลและเรียบเรียงจาก Is DNA cloning safe? จาก Biology 6th edition 1983" John W. Kimball. p. 138 Wm.C. Brown Publishers England


โดย : นางสาว kloyjai chompraklap, student 4/3klongluang patumtani 1318, วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545