สูญญากาศ

กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.”รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.

ความหมายของสุญญากาศ โดยแท้จริง คือ ที่ซึ่งไม่มีอะไรอยู่ที่นั่นเลยไม่มีแม้กระทั่งอากาศ ไม่มีแม้กระทั่ง อะตอมหนึ่งอะตอม หรือโมเลกุลสักหนึ่งโมเลกุล สุญญากาศที่แท้จริงจึงจะเกือบหาไม่ได้ แม้แต่ในอวกาศหนือนอกระดับวงโคจรของดาวเทียมยังคงมีดมเลกุลแก๊สประมาณพันล้านต่อลูกบาศก์นิ้ว หรือ 16.39 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร และในห้วงอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ก็ยังเหลืออยู่หลายสิบโมเลกุลต่อหนึ่งลูกบาศก์นิ้ว สุญญากาศมีประโยชน์ หลายอย่างทางด้านวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมบางครั้งต้องการกำลังอากาศเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน ตัวอย่างเช่น ในภาชนะบรรจุอาหาร ถ้าขาดอากาศอาหารก็จะไม่เสียง่ายเก็บไว้ได้นานขึ้น บางครั้งก็ต้องนำโมเลกุลแก๊สต่าง ๆ ออก เพื่อปล่อยให้อิเล็กตรอนหรืออนุภาคบางชนิดผ่านไปได้สะดวก มีการผลิตหลอดสุญญากาศ ตลอดจนหลอดไมโครเวฟที่ใช้ในการส่งเรดาร์และสัญญาณโทรทัศน์ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ประโยชน์จากสภาพสุญญากาศมากทีเดียว การที่จะนำเอาฟิล์มบาง ๆ ของสารบางชนิด ไปทาบนวัตดุบางอย่างเพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบวงจรคอมพิวเตอร์ก็ต้องอาศัยสุญญากาศ การศึกษาเกี่ยวกับการเดินทางไปในอวกาศนอกโลก ต้องใช้การจำลองแบบห้วงอวกาศโดยอาศัยห้องสุญญากาศขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นห้องทดลองแล้วศึกษาผลของสภาพของสุญญากาศอย่างรอบคอบก่อนที่ยานและนักบินจะออกเดินทาง



โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545