ไฟฟ้าสถิต


กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.”รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.
ทุกสิ่งทุกอย่างประกอบด้วยอะตอม และในอะตอมยังมีอนุภาคที่เล็กจิ๋ว เรียกว่า อิเล็กตรอน อิเล็กตรอนแต่ละตัวมีประจุไฟฟ้าลบ และประจุไฟฟ้านี้เป็นต้นตอของไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ไฟฟ้าแบ่งเป็น ไฟฟ้าสถิต และไฟฟ้ากระแส คำว่า สถิต หมายถึง อยู่ หรือ ตั้งอยู่ ไฟฟ้าสถิตมีชื่ออย่างนั้น เพราะเกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอนที่เพียงแต่เคลื่อนที่อีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง แล้วก็อยู่มีที่นั้นไม่ได้ไหลไปอย่างเป็นกระแส ในวัตถุที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าอะตอมทุกอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนตามปกติ ไม่ขาดไม่เกิน ทีนี้ถามีการขัดถูระหว่างวัตถุสองอย่าง อิเล็กตรอนจะถ่ายโอนจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง โดยวัตถุที่รับอิเล็กตรอนไว้จะมีประจุไฟฟ้าลบ ส่วนวัตถุที่สูญเสียอิเล็กตรอนก็จะมีประจุบวก รอบ ๆ วัตถุทั้งสองงจะเกิดสนามไฟฟ้าขึ้นมา ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันผลักกัน คือลบผลักลบ บวกผลักบวก และประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันดูดซึ่งกันและกัน ลบดูดกับบวก เมื่อเอาผ้าถูหวีพลาสติกแรง ๆ อิเล็กตรอนในผ้าจะไปติดอยู่ที่หวี ทำให้หวีมีประจุลบ ตอนนั้นถ้าเอาหวีเข้าไป ใกล้เศษกระดาษเล็ก ๆ เศษกระดาษจะขยับเข้ามาติดหวี ทั้งนี้เพราะ เมื่อหวีมีประจุลบ และสร้างสนามไฟฟ้าขึ้น สนามไฟฟ้าทำให้เกิดประจุไฟฟ้า ต่างชนิดขึ้นที่ริมเศษกระดาษที่อยู่ใกล้ แล้วก็มีการดึงดูดเข้าหากัน ในวันที่อากาศแห้ง เมื่อแปลงหรอหวีผมที่แห้งมากอย่างแรง ๆ ผมก็จะมีประจุไฟฟ้าเหมือนกัน อาจจะดึงเอาขี้ฝุ่น เศษผง เข้ามาติดได้ง่าย


โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545