ระเหยระเหิด

กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.”รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.


การระเหย กับ การระเหิด ไม่เหมือนกัน ดูเหมือนเราจะคุ้นเคย กับการระเหยมากกว่า เพราะมีตัวอย่างให้เห็นได้ทั่วไป ตามปกติสารมรสามสถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส หรือ ไอ ในสภาวะอุณหภูมิและความดันปกติสารจะอยู่ในสถานะใดสถานะหนึ่ง เช่น ตามธรรมดาน้ำเป็นของเหลวเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งเรียกว่าน้ำแข็ง พออยู่ในสถานะของเหลวเรียกว่า น้ำ และเมื่อเป็นไอก็เรียกว่าไอน้ำ โมเลกุลน้ำประกอบด้วย ธาตุไฮโดรเจน 2 อะตอม และธาตุออกซิเจน 1 อะตอม ภายในน้ำแข็ง น้ำ และไอน้ำ มีโมเลกุลที่หน้าตาเหมือนกันทั้งหมด สถานะทั้งสามเปลี่ยนไปมาระหว่างกันได้ แต่ตามธรรมดาจะเปลี่ยนตามลำดับจากของแข็งเป็นของเหลว และของเหลวเป็นของแข็ง นี่เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ การที่ของเหลวกลายเป็นไอ เรียกว่า “การระเหย” ของเหลวระเหยได้ เพราะโมเลกุลที่มีพลังจลน์สูงบางโมเลกุลที่อยู่ที่ผิวหน้าของของเหลวกระโดดหลุดหนีเข้าไปในอากาศแล้วอาจเลยไปไกล ไม่ตกกลับคืนสู่ของเหลวอีก จำนวนโมเลกุลของของเหลวก็ลดน้อยลง ของเลวระเหยหายไปหมด การระเหยเป็น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งของของเหลว ส่วนการระเหิดนั้น หมายถึง การที่ของแข็งกลายเป็นไอโดยตรงไม่ผ่านสถานะของเหลวเสียก่อน เป็นการกระโดดข้ามขั้น ปรากฏการณ์อย่างนี้เกิดกับสารเพียงไม่กี่ชนิด ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย คือลูกเหม็นป้องกันแมลง การบูร และไอโอดีน ถ้าเอาเกล็ดไอโอดันใส่ขวดปิดจุกไว้ ไอโอดีนจะระเหิดเป็นไอสีม่วง ลอยออยู่ภายในขวด การที่ของแข็งบางอย่างระเหิดได้ เพราะมีความดันไอสูง ขณะมี่อุณหภูมิสูงถึงความดันของอากาศภายนอก จึงกลายเป็นไอ โดยยังไม่ทันได้หลอมเหลวเป็นของเหลวเสียก่อน


โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545