สารที่แปลกที่สุด

กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.”รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.


ปรอทเป็นโลหะที่แปลกที่สุด แตกต่างจากโลหะอื่นหลายประการ ประการแรก คือ ปรอทเป็นโลหะชนิดเดียวที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิธรรมดา ปรอทมีจุดหลอมเหลว –39 องศา เซลเซียส หมายความว่า ถ้าอยากให้ปรอทมีความแข็ง อุณหภูมิจำต้องต่ำกว่า –39 องศา ยังมีโลหะอีกชนิดหนึ่งคือ แกลเลียมที่มีจุดหลอมเหลวเพียง 30 องศาเซลเซียส ในประเทศร้อนอย่างเมืองไทย ในวันที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 องศา แกลเลียมก็มีโอกาสเป็นของเหลวได้เหมือนกัน ชื่อของปรอทเดิมในภาษากรีก แปลได้ว่า “เงินน้ำ” เพราะปรอทมีสีเงินเงาวับเหมือน โลหะเงิน และเป็นของเหลวเหมือนน้ำ ไหลไปมาได้ ปรอทหนักมาก จัดว่าเป็นของเหลวที่หนักที่สุดเท่าที่ทราบกัน เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำที่มีปริทาณเท่ากัน ปรอทหนักกว่าน้ำ 13.6 เท่า และเป็นของเหลวที่ไม่เปียกแก้ว ด้วยเหตุนี้จึงใช้ปรอทในการทำบารอมิเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดความดันของอากาศต้องการลำปรอทสูงเพียง 80 เซนติเมตร ก็พอ ถ้าใช้น้ำก็คงยุ่งยากมาก เพราะ คอลัมน์น้ำ จะต้องสูงร่วม 11 เมตร ตามปกติโลหะขยายตัวเมื่อร้อนขึ้น ปรอทก็เช่นเดียวกันกับโลหะอื่น ในข้อนี้ แต่พิเศษกว่า คือ การขยายตัวของปรอทคงที่ในช่วงของอุณหภูมิ 0 – 300 องศาเซลเซียส ประกอบกับไม่เปียกแก้ว ปรอทจึงเป็นของเหลวที่ดีที่สุด สำหรับทำเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิความร้อน สมบัติที่วิเศษอีกอย่างหนึ่งของปรอท คือ ปรอทสามารถละลายโลหะอื่นได้หลายชนิดในอุณหภูมิธรรมดา เมื่อละลายรวมกันแล้วเรียกว่าโลหะ เจือปรอท (อะมาลแกม) ใช้ประโยชน์จากสมบัตินี้ในการแยกสกัดทองคำ และเงิน เป็นต้น ชาวบ้านร่อนทอง ริมแม่น้ำโขงที่จังหวัดเลยใช้วิธีนี้ด้วยเหมือนกัน ทองคำเป็นเม็ดเล็ก ๆ ปนมากับกรวดทราย ไม่สามารถจับแยกออกมาได้ เขาก็ใช้ปรอทใส่เข้าไปปรอทเข้าร่วมกับเม็ดทองคำ แยกออกจากเม็ดกรวดเม็ดทรายได้ง่าย ภายหลังเมื่อต้องการทองคำก็แยกปรอทออกไป ปรอทเป็นไอได้เล็กน้อย แต่ไอของ



โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2545