สายรุ้งเกิดขึ้นได้อย่างไร


สายรุ้งเกิดขึ้นได้อย่างไร
ฝนหยุดตกแล้ว อากาศเย็นชุ่มฉ่ำ ละอองไอน้ำอบอวลรวบตัวเรา บนท้องฟ้ามีสายรุ้งพาดโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม แลดูสวยงาม ทำให้เกดความใฝ่ฝันใคร่จะยื่นมืออออกไปสัมผัส
รุ้งมีหลายสีเรียงตามลำดับ ม่วง ครามิ เขียว เหลือง ส้มและแดง ระหว่างสีแต่ละสี ก็เป็นสีผสมที่กลมกลืนกันดี ไม่มองดูเป็นเส้นสีแยกจากกัน เราทำรุ้งเองก็ได้โดยไม่ต้องรอให้ฝนตก ให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านรูเล็ก ๆ ที่ฝาเข้าในห้องมืด แสงนี้จะตกกระทบฝาผนังด้านตรงข้ามเป็นแสงสว่าง วงกลม เมื่อวางแก้วปริซึมสามเหลี่ยมรับแสงจากรูเล็กนั้นจะเกิดวงแสงสีขึ้นที่ฝาผนังและสีก็เรียงตามลำดับอย่างที่เราเห็นสายรุ้ง
ปริซึมเป็นแก้วใสรูปสามเหลี่ยมสามารถหักเหแสงได้ เมื่อแสงสีขาวส่องผ่านทะลุปริซึมมันจะหักเหและแยกออกเป็นแถบเจ็ดสี เรียกว่าเสปกตรัม เพราะแสงสีขาวนั้นแท้จริงแล้วประกอบด้วยสีหลายสี เมื่อแสงขาวตกกระทบปริซึมเป็นมุมต่างสีทั้งหลายจึงกระจายออกไป แสงสีม่วงหักเหมากที่สุด ส่วนแสงสีแดงหักเหน้อยที่สุด และทุกสีเบนเข้าหาฐานปริซึม
การกระจายของแสงขาวออกเป็นสีต่างนั้น เราก็คงจะได้เคยเห็นสีสวย ๆ สะท้อนจากเพชร แก้วผลึกที่มีเหลี่ยมพราว แก้วเจียรไนเนื้อดี เม็ดแก้วที่มีเหลี่ยมตัด สีต่าง ๆ ของเสปกตรัมอาจรวมกันกลับเป็นสีขาวได้อีก ถ้าหากทาสีของเสปกตรัมลงเป็นแฉกรอบกระดาษ แข็งรูปวงกลม แล้วหมุนกระดาษด้วยอัตราเร็วสูง จะเห็นกระดาษกลมนั้นเป็นสีขาว
แสงเป็นพลังงานที่เคลื่อนที่ไปเป็นคลื่น จึงมีความยาวคลื่น แสงที่ตาเรามองเห็นได้มีความยาวคลื่นจำกัดอยู่ในระหว่าง 400 –700 นาโนเมตร เท่านั้น ( 1 นาโนเมตร เท่ากับ หนึ่งในล้านมิลลิเมตร ) สัตว์อื่นมองเห็นได้มากกว่าคน แสงอัลตราไวโอเลต มีความยาวคลื่นสั้นกว่า 400 นาโนเมตร คนจึงมองไม่เห็น แต่สัตว์บางชนิดสามารถมองเห็นได้ ในช่วงตาคนเห็นได้นี้ แสงสีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นที่สุด แล้วเรียงกันไป สีน้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม จนถึงแดง ซึ่งมีความยาวคลื่นมากที่สุด ใกล้ 700 นาโนเมตร ไปเป็นแสงอินฟราเรด ซึ่งคนมองไม่เห็นอีกเทมือนกัน
รุ้งเกิดจากการที่แสงอาทิตย์ส่องผ่านละอองเม็ดน้ำในอากาศหลังฝนตกรุ้งจะอยู่บนท้องฟ้าคนละดน้ากับดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นต้นแสงเสมอ สีแดงจะอยู่ด้านบนและสะสีม่วงจะอยู่ด้านล่างเสมอ ในบางครั้งเราจะเห็นรุ้งขึ้นบนท้องฟ้า 2 เส้นพร้อมกัน สีของรุ้งสายล่างจะเรียงกลับกับสีของรุ้งสายบน การเกิดรุ้งขึ้น2 สายได้เพราะ แสงหักเหมากกว่าหนึ่งหนในหยดน้ำจึงสะท้อนออกมาเป็นรุ้งอีกสายหนึ่ง

กฤษณา ชุติมา . รู้ไว้ใช่ว่าภาษาวิทยาศาสตร์ เล่ม 1 .พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพ ฯ . จุฬาลงกมหาวิทยาลัย.
2543.




โดย : นางสาว nattaya muenrad, ripw คลองหลวง ปทุมธานี 13180, วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2545