มาทำความรู้จักกับGMOกันเถอะ

ปัจจุบันความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับจีเอ็มโอ (GMO) ยังรุนแรงอยู่ทั่วโลก การสร้าง ความเข้าใจ ในเรื่องนี้จึงนับว่ามีความสำคัญมาก ความเป็นมาในเรื่องนี้ สืบเนื่องมาจากความเป็น ห่วงเรื่อง การผลิตอาหาร ให้เพียงพอกับความต้องการ ของประชากรโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศ ที่กำลังพัฒนาและยากจน จากการคาดการณ์ของสหประชาชาติ อัตราการเพิ่ม ตกประมาณ 9,000 คนต่อชั่วโมง จากปี ค.ศ.2000 ที่มีอยู่ประมาณ 6,000 ล้านคน ประชากรของโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านคน ในปี ค.ศ.2020 ในขณะเดียวกัน อัตราการผลิตอาหาร มิได้เพิ่มขึ้น เป็นสัดส่วน ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องหาแนวทางเพิ่มการผลิตอาหารให้เพียงพอให้ได้

ปัญหาการผลิตอาหารให้เพียงพอนั้น ยังเป็นเรื่องที่ยัง มีแนวความคิดขัดแย้งกัน กลุ่มหนึ่งเห็นว่า ความสามารถในการ ผลิตอาหาร ให้พอเลี้ยง ประชากรโลก นั้น ยังมีศักยภาพสูงอยู่ ดังจะเห็นได้จากการ ที่ประเทศ ที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา หรือยุโรปก็ตาม สามารถ ผลิตอาหารได้จนล้นเหลืออยู่ ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มดังกล่าว มิได้วิเคราะห์สถานการณ์ ของ ประเทศกำลัง พัฒนาที่ยากจนที่ ขาดทรัพยากรในการผลิต ขาดปัจจัย ในการซื้อหาอาหารหากผลิตไม่พอ และขณะเดียวกัน ประชากร ของประเทศเหล่านี้ เพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าประชากร ในประเทศที่พัฒนาแล้วมาก
เมื่อประเมินสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว สรุปว่า การผลิตอาหารในยุคต่อไปนี้ ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง และใช้การจัดการที่ดีขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด ที่ดินสำหรับการเกษตรก็ลดลงทุกปี ปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้นเป็นต้น เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตทางการเกษตรนั้น เชื่อกันว่า คือเทคโนโลยีชีวภาพนั่นเอง
เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นความพยายามที่จะใช้ สิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของ สิ่งมีชีวิตในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร การแพทย์ สาธารณสุข อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมก็ตาม มนุษย์คุ้นเคย กับการใช้จุลินทรีย์ ในกระบวนการผลิตอาหาร มานานแล้ว เช่นอาหารหมักดอง เหล้า ไวน์ เบียร์ เป็นต้น ในสมัยที่เทคโนโลยีชีวภาพ ก้าวหน้ามากขึ้น มีการเลือกใช้ เฉพาะจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงเท่านั้น เมื่อไม่สามารถ เสาะหาได้ตามธรรมชาติ แนวความคิดที่จะ พัฒนาสายพันธุ์ใหม่จึงเกิดขึ้น ซึ่งเป็น แนวความคิดเดียวกัน กับการปรับปรุงพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ในการเกษตรนั่นเอง
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธุวิศวกรรมที่ได้ ผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ เป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจ จากประชาชนทั่วไป ซึ่งทำความเข้าใจในดังนี้





จีเอ็มโอคืออะไร
การพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ อาจทำได้โดย การผสมพันธุ์ระหว่างสองสายพันธุ์ ที่มีลักษณะดีต่างกัน เพื่อเป็นการถ่ายทอดลักษณะหรือยีนที่ต้องการ การทำเช่นนั้น จึงจะได้ลูกผสมที่มียีนต่างๆ จากทั้งพ่อ และแม่เข้าไปรวมกันอยู่ทั้งยีนที่ต้องการ และไม่ต้องการจะต้องใช้เวลามาก ในการคัดเลือกเอาเฉพาะ สิ่งที่มีชีวิตที่มียีน ตามต้องการ ในการผสมพันธุ์พืชชั้นสูง อาจใช้เวลาเป็นสิบปี จึงจะได้พันธุ์ใหม่ที่มี ยีนตามต้องการ ดังนั้น จึงได้มีการคิดค้นวิธีการถ่ายทอดยีนที่ต้องการเพียงตัวเดียว เข้าไปยังสายพันธุ์ ที่ต้องการใช้ประโยชน์ ผลิตผลที่ได้รับ คือสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกกันว่า จีเอ็มโอ นั่นเอง
พันธุวิศวกรรม-การตัดต่อตัดแต่งยีน
กระบวนการตัดต่อตัดแต่งยีน และการถ่ายฝากยีน ที่นำไปสู่การผลิต จีเอ็มโอนั้น มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง เช่น genetic engineering, genetic modification, genetic manipulation, genetic transformation, recombinant DNA technology, gene technology เป็นต้น คำต่างๆ เหล่านี้ รวมทั้ง "gene transfer" และ "transgenic" ทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขว ได้มาก ทำให้เข้าใจว่า เป็นกระบวนการ นำยีนแปลกปลอมจาก สิ่งมีชีวิตที่ห่างไกลกันถ่ายฝากให้กัน แต่ความเป็นจริงแล้ว กระบวนการพัฒนาจีเอ็มโอนั้นมี หลากหลาย มีระดับความปลอดภัย แตกต่างกัน ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป




มุมมองเรื่องจีเอ็มโอ
ผู้คัดค้านการใช้เทคโนโลยีนี้ มีมุมมองทางลบสองเรื่องหลักๆ คือเรื่องความปลอดภัยและ เรื่องการต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากบริษัท หรือ ต่างชาติมากขึ้น ที่จริงแล้วฝ่ายผู้สนับสนุนมีความเชื่อ ว่า ความปลอดภัยทางชีวภาพนั้น อยู่ในวิสัย ที่จะควบคุมดูแลได้ ความเป็นห่วงเรื่องยีนต้านทาน แอนตี้ไบโอติก ที่ใส่ไปควบคู่กับ ยีนหลัก ในการถ่ายฝากนั้น ก็กำลังได้รับการแก้ไขในอนาคต อาจไม่ใช้เลย ความปลอดภัย ก็จะเพิ่มขึ้น
ความเป็นห่วงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ที่ผูกอยู่กับยีนและการถ่ายฝากนั้น เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่นักวิชาการในประเทศที่กำลังพัฒนาตระหนักดี จึงได้ดำเนินการ สร้างความสามารถให้ทำได้ เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งการสร้างสถาบัน การพัฒนากำลังคน เครื่องมือและความสามารถ ต่างๆ ปัจจุบันมีหลายอย่าง ที่ประเทศไทยทำได้เอง เช่น เรื่องการพัฒนายีนจากไวรัส แล้วถ่ายฝาก ให้พืช เช่น พริก มะเขือเทศ มะละกอ และถั่วฝักยาว ต้านทานโรคไวรัสได้แล้ว พร้อมที่จะส่งเสริม ให้เกษตรกรใช้

ที่มา: http://www.nstda.or.th.



โดย : เด็กชาย วันรพี สู้งาน, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 13 พฤศจิกายน 2544