มะขาม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus&mbsp;indica&mbsp;Linn.
วงศ์ Leguminosae
ชื่อท้องถิ่น มะขามไทย(ภาคกลาง) ขาม (ภาคใต้) &mbsp;ตะลูบ (นครราชสีมา)
ม่วงโคคล้ง (กระเหรี่ยว - กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุนิรทร์)
การปลูก นิยมขยายพันธุ์ด้วยการใช้กิ่งทาบกิ่ง ติดตาหรือตอนกิ่ง เพราะ
จะได้ผลเร็วเหมือนพันธุ์เดิม มะขามขึ้นได้กับดินทุกชนิด เจริญได้ดีในดินปนดินดินเหนียว
ทนแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกในฤดูฝน การปลูกต้องขุดหลุมและใส่ปุ๋ยที่ก้นหลุมด้วย
ใช้กิ่งพันธุ์ปลูก ดูแลรักษาเหมือนต้นไม้ทั่วๆไป
ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อฝักแก่ เนื้อเม็ดมะขามแก่
ช่วงเวลาที่เก็บยา เก็บช่วงที่ฝักแก่ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
รสและสรรพคุณยาไทย เนื้อฝักแก่มีรสเปรี้ยว เป็นยาระบาย ขับ
เสมหะ เนื้อเม็ดมีรสมันขับพยาธิ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า"มะขามเปียก"มะขามที่ใช้เป็นยา
ใช้มะขสมชนิดเปรี้ยว เพราะมีกรดอินทรีย์ประกอบด้วยหลายตัวด้วยกัน เช่น กรด "ทาร์ทาร์ริค"
กรด "ซีตริค" เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ลดความร้อนของร่างกายลงได้
แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวจะกัดเสมหะให้ละลายไปได้
วิธีใช้ ส่วนต่างๆ ของมะขามเป็นยารักษาแตกต่างกันคืออาการท้องผูก ใช้
มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10-12 ฝัก(หนัก 70-150 กรัม)จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำเข้าไปมากๆ
หรือคั้นน้ำเกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขามก็ได้เช่นเดียวกัน นำเอาเมล็ดที่แก่มาคั่วแล้วกะเทาะเปลือกออก
เอาเนื้อในเมล็ดไป แช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งล่ะ 20 30 เมล็ดอาการไอมีเสมหะ
ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือ รับประทานพอสมควร
คุณค่าทางอาหาร ยอดอ่อนของมะขาม ใช้ใส่ในต้มยำปลากรอบก็อร่อย ทำให้มีรสเปรียวได้
ยอดมะขามอ่อนมีวิตามิน เอมาก ฝักมะขามอ่อนมีสารอาหารเช่นเดียวกับยอดมะขามอ่อน
ใช้ตำน้ำพริกมะขามอ่อนไปจิ้มกับเกลือรับประทานก็ได้ส่วนมะขามเปียกรสเปรี้ยวใช้ปรุงแกงส้ม
แกงคั่ว ต้มโคล้ง ต้มส้มได้ทั้งสิ้น คั้นเอาน้ำมะขามใส่น้ำตาล เกลือ
ใส่น้ำแข็งก็ได้เป็นเครื่องดื่มน้ำมะขาม เป็นอย่างดี อร่อย ชุ่มคอ ลดความร้อนในร่างกายได้ดี
ที่มา : http://www.samunpai.com





โดย : นางสาว นุชรี สุทินนะ, โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์, วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545