ค้างคาว

ค้างคาว . 2001. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://board.dserver.org/w/webdoae/00000060.html
ค้างคาว
1.ค้างคาวที่กินผลไม้พบในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 9 สกุล คือ ค้างคาวแม่ไก่ ค้างคาวบัว ค้างคาวขอบหูขาว ค้างคาวขอบหูดำ ค้างคาวหัวดำ ค้างคาวปีกจุด ค้างคาวดอย ค้างคาวเล็บกุด และค้างคาวหน้ายาว (ลักษณะที่สังเกตได้ง่าย คือ มีลักษณะหน้าเหมือนสุนัข) ที่พบมากมีอยู่ 3 สกุล คือ ค้างคาวบัว ค้างคาวขอบหูขาว และค้างคาวเล็บกุด รายละเอียดและชีวประวัติของแต่ละชนิดศึกษาได้จากหนังสือเรื่อง Mammal เขียนโดยนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ซึ่งต้องไปค้นหาดูจากห้องสมุดของกรมวิชาการเกษตร ฯลฯ
2. การป้องกันและกำจัดค้างคาวขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะกำจัดค้างคาวได้ผล และมีประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีการป้องกันและกำจัดต้องใช้หลาย ๆ วิธีรวมกัน ได้แก่
- ทำให้เกิดเสียงดัง ค้างคาวตกใจจะบินหนีไป โดยการจุดประทัดใช้ปืนยิง หรือปล่อยห่านใต้ต้นไม้เพื่อส่งเสียงไล่
- ใช้ตาข่ายขนาดตา 2.5-3 ซม.ขึงสูงจากพื้นดินประมาาณ 2-3 เมตร หรือความสูงพอ ๆ กับยอดไม้ ขวางทางบินเข้าของค้างคาว หรืออาจใช้ตาข่ายคลุมทั้งต้น
- ใช้สปอร์ตไลท์ส่องเป็นจุด ๆ หรือใช้แบล็คไลท์ส่อง เพื่อรบกวนประสาทตาของค้างคาว
- วิธีการที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่ใช้ไล่ค้างคาว โดยการจุดไฟสุมต้นมันสำปะหลังที่มีใบมันสด บริเวณขอบแปลงสวนทำให้เกิดควัน ค้างคาวเกิดการระคายเคืองบินหนีไป วิธีการดังกล่าวนี้ต้องดูทิศทางลมให้ดีเสียก่อน เพราะควันที่เกิดจากใบมันสำปะหลังจะเป็นอันตรายต่อสายตาของผู้ใช้
3. การใช้คลื่นไล่ค้างคาว มีการนำอุปกรณ์จากประเทศออสเตรเลียมาใช้ทดลองในสวนลำไยที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ไต่ไม่ทราบผลเป็นอย่างไร ถ้าสนใจอยากจะทราบขอให้สอบถามไปที่สำนักงานเกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี




โดย : นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545