การกำจัดของเสียในอวกาศ


วัลลภ ประสาทพร. “การกำจัดของเสียในอวกาศ”. สำรวจเอกภพ., (มกราคม 2539) ; 230.

ระหว่าง 2-3 วันแรกที่บินอยู่ในอวกาศ นักบินอวกาศเกือบครึ่งมักจะเมาอวกาศอย่างหนักมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะเหงื่อออก และอาเจียนอันเป็นอาการเมาการเดินทาง ซึ่งบางคนเคยเป็นมาแล้วบนโลกในอวกาศ อาการนี้เกิดจากสภาพไร้น้ำหนัก ซึ่งรบกวนอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการรักษาการทรงตัวที่อยู่ตรงหูส่วนใน การกำจัดถุงอาเจียนต้องทำให้ถูกสุขลักษณะ เพราะเชื้อจุลินทรีย์อาจแพร่ได้เร็วในที่อันจำกัดเช่นนี้ ในยานกระสวยอวกาศ นักบินมีส้วมชักโครกซึ่งใช้อวกาศ ไม่ใช้น้ำ มีที่ยึดเท้าและเข็มขัดรักตัวให้ติดที่นั่ง ส่วนการถ่ายปัสสาวะจะต้องถ่ายไปตามท่อที่แยกไว้ต่างหาก ปัสสาวะจะไหลตามท่อด้วยกระแสอวกาศไปพักไว้ชั่วคราวในถังรวมกับน้ำเสียอื่นๆ สิ่งที่อยู๋ในถังนี้จะทิ้งไปที่นอกตัวยานอวกาศวึ่งเป็นที่ซึ่งน้ำเสียระเหยไปได้ ของเสียที่เป็นของแข็งจะถูกขับลงสู๋ที่เก็บโดยกระแสอวกาศจากใต้ที่นั่ง ต่อมาเมื่อนำภาชนะบรรจุของเสียนี้ตากไว้ในอวกาศ ซึ่งเป็นสุญญากาศก็จะทำให้ของเสียนี้แห้ง ในที่สุดจึงนำกลับมากำจัดทิ้งบนโลกในภายหลัง



โดย : นางสาว วันทนีย์ ไพฑูรย์, ripw, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545