มนุษย์จำได้อย่างไร

ในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ปี ค.ศ.1974 ชายชื่อภันทันตะ วิจิตตสาระ สามารถท่องจำข้อความในคัมภีร์พุทธศาสนาจำนวน 16,000 หน้าได้ นับว่าเป็นปรากฎการณ์เหนือธรรมดา แต่คนเราแทบทุกคนสามารถจดจำข้อมูลจำนวนมากได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ แต่กลับลืมหมายเลขโทรศัพท์ที่เพิ่งทราบไปได้ง่ายๆหลังจขากกดปุ่มโทรศัพท์เสร็จ
มนุษย์มีความจำ 2 ชนิด คือความจำระยะสั้น ซึ่งจะเก็บข้อมูลเพียง 6 หรือ 7 รายการไว้ได้ 1 นาที ส่วนความจำระยะยาวเก็บข้อมูลข่าวสารอันซับซ้อนไว้เป็นแรมปีและหรือหลายสิบปี
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าความจำระยะสั้นและระยะยาวนั้นเก็บไว้ในสมองคนละส่วนกัน ความจำระยะสั้นอยู่ในสมองส่วนกลาง แต่ความจำระยะยาวอยู่ทั่วทั้งสมองส่วนนอก ดังนั้นหากสมองส่วนในได้รับผลกระทบจากโรคใดโรคหนึ่งหรือจากอาการเส้นเลือดสมองอุดตัน ก็จะทำให้เกิดอาการความจำเสื่อมได้ แต่ผู้ป่วยจะสามารถจดจำเหตุการณ์ต่างๆที่นำไปสู่การสูญเสียความทรงจำได้ เพราะเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นส่วนของความจำระยะยาว แต่จะจำเรื่องใหม่ๆไม่ได้เลย
นักจิตวิทยาความจำมีความเกี่ยวโยงกับผัสสะทั้ง 5 ในช่วงการเรียนรู้ เด็กที่มีอายุถึง 6 ขวบจะรู้จักใช้ศัพท์ประมาณ 6,000 คำ อีกชั่วชีวิตต่อจากนั้นคนทั่วไปจะเรียนรู้ศัพท์เพิ่มขึ้นอีกราว 14,000 คำเท่านั้น รากฐานการรู้ภาษานั้นก่อเกิดขึ้นก่อนที่เด็กจะอ่านหนังสือออกด้วยซ้ำ เด็กจึงเรียนรู้ถึงเสียงของคำต่างๆได้จากความหมาย จังหวะ น้ำเสียง และจากการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน
ข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในความทรงจำระยะยาวอาจถูกแปลงเป็นภาพอะไรซักอย่าง แล้วเก็บไว้ในเซลล์สมองส่วนนอก เซลล์ประสาทนี้มีจำนวนกว่า 100,000 ล้านเซลล์ แต่ละเซลล์เชื่อมกับเซลล์อื่นๆอีก 10,000 จุด เกิดเป็นเครือข่ายโยงใยที่ซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อ
ข้อมูลในเซลล์อาจเก็บไว้ในรูปสารเคมีซึ่งเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของเซลล์ ตลอดจนวิธีที่เซลล์เชื่อมต่อกัน
ความจำระยะสั้นอาจแปรเป็นความจำระยะยาวได้ โดยการทวนซ้ำและการเรียนรู้ ข้อมูลนี้ส่งผ่านไปสู่ความจำระยะยาวโดยมีโมเลกุลของสารเคมีเป็นผู้ส่งข้อมูล โมเลกุลเหล่านี้เคลื่อนจากเซลล์สมองเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่ง แต่ละโมเลกุลจะก่อให้เกิดกิริยาเฉพาะอย่าง เพื่อส่งข้อมูลต่อกันไป
ดังนั้น แม้เราอาจลืมหมายเลขโทรศัพท์ที่เพิ่งทราบได้ง่ายๆ แต่เราก็ยังเก็บมันไว้ในความทรงจำระยะยาวได้ในที่สุดหากจำเป็นต้องใช้ในอนาคต



โดย : นาย ณัฐพล ตันสืบเชื้อสาย, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544