ไดโนเสาร์

ออนิโธมิโมซอร์ . 2544 . (ออนไลน์) : เข้าถึงได้จาก http://www.thai.net/dino_s/
ออนิโธมิโมซอร์ไดโนเสาร์ ตระกูลนี้ มีลักษณะพิเศษ เมื่อดู ครั้งแรก จะเห็นว่า มันเหมือนกับ พวกซีลูโรซอร์ ด้วย มีขา ที่วิ่งเร็ว แขนยาว และมีมือ ที่จับได้ คอยาว หัวเล็ก แต่ว่า มีลักษณะพิเศษ ที่แตกต่าง ออกไปคือ ไม่มีฟันเลย ออนิโธมิโมซอร์ หมายถึง สัตว์เลื้อยคลาน คล้ายนก เป็นที่รู้จักกันดี ในอีก ชื่อหนึ่งว่า ไดโนเสาร์ นกกระจอกเทศ เพราะมัน มีรูปร่าง เหมือนนกกระจอกเทศ แต่ไม่มีขน พบในชั้นหิน ในช่วง ยุค ครีเตเซียส ตอนปลาย พบแล้ว 3 ชนิด คือ
1. สตรูธิโอมิมัส (Struthiomimus) แปลว่า ไดโนเสาร์ นกกระจอกเทศ พบโครงกระดูก ที่เกือบ จะสมบูรณ์ ส่วนที่หายไป เพียงเล็กน้อย คือบางส่วน ของหัว และกระดูก อีก 2 - 3 ชิ้น ไดโนเสาร์ พวกนี้ คล้ายกับ นกกระจอกเทศ มีขนาดพอๆ กับนกกระจอกเทศ มีขายาว ลำตัวสั้น คอยาว หัวแบน เล็ก มีหางเล็ก และมีมือ ที่มีเล็บยาว แต่สิ่งแปลก ที่พบว่า เหมือนนกกระจอกเทศ ก็คือ ไม่มีฟัน นอกจาก ส่วนหัวแล้ว ส่วนอื่นๆ ของโครงกระดูก ค่อนข้างจะผิดไปจากธรรมดา คือ คอ สามารถ ยืด หยุ่นได้มาก ส่วน หลังแข็ง กระดูกหลัง ถูกยึด อยู่กับที่ โดยการจัดเรียง ของเอ็น ที่กระชับ และส่วน ท้อง ถูกยึด ไว้อย่างแน่นหนา ด้วยกลุ่ม ของซีกโครง หน้าท้อง ส่วนของหาง ก็ค่อนข้าง จะแข็งไป ตลอดถึง ปลายหาง จนกระทั่ง ใกล้ส่วน สะโพก ดังนั้น มันจึงใช้สำหรับการ ทรงตัว และเปลี่ยนทิศ ทาง ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะวิ่ง ด้วยความเร็วสูง จึงดูเหมือนว่า เจ้าไดโนเสาร์ เหล่านี้ มีชีวิตอยู่ เหมือนนกกระจอกเทศ
2. โดรมิซิโอมิมัส (Dromiceiomimus) แปลว่า ไดโนเสาร์อีมู นั่นคือ มันมีลักษณะ คล้ายนกอีมู ซึ่งเป็นนก ที่บินไม่ได้ เหมือนนกกระจอกเทศ นั่นเอง เป็นไดโนเสาร์ อีกพนธุ์หนึ่ง พบที่แคนาดา ที่ต่างไปจาก สตรูธิโอมิมุส เพียงแต่ รูปร่าง เพียวกว่า และหัวมีรูปร่าง ต่างไป ในแถบทวีปเอเซีย และอเมริกา ไม่ค่อยรู้จักกัน มากนัก ฟอสซิลที่รู้จัก กันดี มาจาก มองโกเลีย ค้นพบ ในทศวรรษที่ 1920 โดยคณะ สำรวจ ที่มีชื่อเสียง ซึ่งค้นพบ ที่มองโกเลีย พบกระดูกจำนวนมาก นั่นเป็น เรื่องที่เรา พอจะบอก ได้จาก ส่วนที่เหลืออยู่ ซึ่งพบว่า ลำตัวของ เจ้าพวกนี้ คล้ายกับ พวกซีลูโรซอร์ ทั้งหลาย แต่ส่วนหัว มีลักษณะ ที่แตกต่าง ออกไป เช่นเดียวกับ ออนิโธมิโมซอร์ ไม่มีฟัน ในปากเลย และหัวมี ลักษณะสั้น เป็นก้อน และมีโหนก ขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะ แตกต่างกัน หลายแบบ อยู่บนหัว ในช่วงเร็วๆ นี้ มีการ ค้นพบ ฟอสซิล เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจะทำให้ เรารู้จัก พวกนี้ได้ดี ยิ่งขึ้น
3. โอวิแรพเตอร์ (Oviraptor) ชื่อของ มันแปลว่า สัตว์เลื้อยคลาน นักขโมยไข่ พบซากของมัน ใน อเมริกาเหนือ และเอเซีย พบครั้งแรก ในมองโกเลีย หลังปี ค.ศ. 1920 หัวกระโหลก มีขนาดเล็ก ไม่มีฟัน รวมทั้ง รังที่มีไข่ ของ ไดโนเสาร์ โปรโตเซอราทอป ที่น่าแปลกใจ ก็คือ ค้นพบ หัวกระโหลก ของไดโนเสาร์ นี้ วางอยู่ ในรัง บนกองไข่ โปรโตเซอราทอป สัณนิฐาน ได้ว่ามันตาย หรือถูกฆ่าตาย โดยเจ้าของรัง ในขณะที่ มันกำลังขโมยไข่







โดย : นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545