ไดโนเสาร์ตระกูลฮิปซิโลโฟดอนทิด

ไดโนเสาร์ตระกูลฮิปซิโลโฟดอนทิดส์ . 2544 (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.thai.net/dino_s/
ไดโนเสาร์ตระกูลฮิปซิโลโฟดอนทิดส์
ไดโนเสาร์ ตระกูลนี้ สันนิษฐาน ว่าคงจะมีชีวิตอยู่ เมื่อราว 150 ล้านปีก่อน รูปร่างจะคล้ายๆ กับ ไดโนเสาร์ ตระกูล เฟบรอซอริดส์
1. เทนอนโตซอรัส (Tenontosaurus) ไดโนเสาร์ พันธุ์นี้ จะมีตัวโต กว่าทุกตัว ในตระกูล ฮิปซิลอฟอดอน ทิดส์ ซากของ เทนอนโตซอรัส ขุดพบ ครั้งแรก ที่เมือง มอนตานา ประเทศ สหรัฐอเมริกา ซากโครงกระดูก ที่ขุดพบ ทำให้ นักวิทยาศาสตร์ ทราบว่า ไดโนเสาร์ ชนิดนี้ มีหางยาว และแข็งแรงมาก
2. ไดรออซอรัส (Dryosaurus) ซากของ ไดรออซอรัส ขุดพบ ในหลายท้องที่ เช่นที่อเมริกาเหนือ ในทวีป แอฟริกา ก็ขุดพบซาก ไดรออซอรัส แม้แต่ที่ ทวีปยุโรป ยังขุดพบ ซากของ ไดโนเสาร์ ชนิดนี้ ด้วยเช่นกัน ชื่อว่า ไดรออซอรัส เมื่อแปลออก มาแล้ว จะได้ความหมาย ว่า สัตว์เลื้อยคลานไม้ ตัวที่โตเต็มวัย จะมี ลำตัวยาว ตั้งแต่หัว จรดหาง ประมาณ 3 หรือ 4 เมตร ตัวจะสั้น แต่หางยาว พุงจะใหญ่มาก เพราะมัน เป็นสัตว์กิน พืช หัวของ ไดรออซอรัส จะเล็กหลิม ปากมีจะงอย แข็งยื่นยาว ออกมา และจะงอยปาก จะดู เหมือนปากเต่า
3. ฮิปซิลอฟอดอน (Hypsilophodon) โครงกระดูก ที่สมบูรณ์ ที่สุด ขุดพบใน ประเทศอังกฤษ ตอนใต้ จัดเป็น ไดโนเสาร์พันธุ์ ท้ายๆ ของยุค ที่โลกมี ไดโนเสาร์ คือมีชีวิต อยู่บนโลก เมื่อราวๆ 130-65 ล้าน ปีมาแล้ว ชิ้นส่วน ฮิปซิลอฟอดอน เมื่อต่อกัน จนสมบูรณ์ ตัวจะยาวถึง 2.5 เมตร ปากของฮิปซิลอฟอดอน มีจะงอย แข็งๆ ยื่นยาวออกมา เหมือนไดรออซอรัส แต่เจ้าฮิปซิลอฟอดอน จะมีฟันเป็นแถว ที่สองข้าง แก้มด้วย แต่เจ้า ไดรออซอรัส มีแต่ฟัน ช่วงหน้า เท่านั้น ฟันของ ไดโนเสาร์ สองชนิดนี้ มีไว้ ขุดดิน กินรากไม้ หน่อไม้ ด้านข้างตัว หรือสีข้าง ของ ฮิปซิลอฟอดอน มีกระดูกแข็ง เรียงเป็นแนว ไปตลอดตัว กระดูกนี้ เข้าใจว่า ใช้เป็น เครื่องมือใน การทรงตัวเวลาวิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวลาที่ วิ่งหนี ไดโนเสาร์ กินเนื้อ ทั้งหลาย โครงกระดูก ของฮิปซิลอฟอดอน ต่อมา ได้มีการ ขุดพบ ในประเทศ จีน และ ออสเตรเลีย ด้วย


โดย : นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545