พื้นฐานความเข้าใจด้านจีโนม

วิทยาศาสตร์ด้านจีโนม (genome) ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญมากอย่างยิ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นี้ ผลงานที่ผ่านมาทำให้มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากหันมาศึกษาและทำงานวิจัยเรื่องจีโนม กล่าวกันว่าความเข้าใจเรื่องจีโนมถือเป็นการปฏิวัติความรู้ทางด้านชีววิทยาเลยทีเดียว การศึกษาเรื่องจีโนมนั้นมีมานานแล้ว โดยศึกษาจากสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำก่อน เช่น พืชหรือสัตว์เซลเดียว ขึ้นมาหาสิ่งมีชีวิตหลายเซลที่ซับซ้อนขึ้น นักวิทยาศาสตร์พบว่า DNA Sequence ที่เหมือนกันในยีนของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันจะทำหน้าที่เหมือนกัน การศึกษาจีโนมจากสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำจึงช่วยให้ทำความเข้าใจจีโนมมนุษย์ได้ง่ายขึ้นด้วย ส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากการศึกษาจีโนมที่รู้จักกันดีในปัจจุบันได้แก่ จีเอ็มโอ (GMO’s – Genetically Modified Organisms) โครงการจีโนมมนุษย์ หรือ Human Genome Project ย่อว่า HGP เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1990 (2533) โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีกรมการพลังงาน (U.S. Department of Energy) กับสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institute of Health) ของสหรัฐฯ ร่วมกันเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เป้าหมายของโครงการมีดังนี้o หาเอกลักษณ์ของยีนในมนุษย์ซึ่งมีจำนวนประมาณ 100,000 ยีนต่อคน o ค้นหาตำแหน่งของคู่เบสอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของ DNA และมีจำนวนประมาณ 3 พันล้านคู่ต่อคน o จัดเก็บข้อมมูลที่ศึกษาได้ในแบบฐานข้อมูล o พัฒนาเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล o เผยแพร่งานและผลงานด้านจรรยาบรรณ กฎหมาย และสังคม ที่เกี่ยวข้องหรือสืบเนื่องกับโครงการ ระยะเวลาของโครงการที่กำหนดไว้แต่เดิมคือ 15 ปี (ค.ศ. 1990 ถึง 2004) แต่เนื่องจากเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก จึงคาดว่าจะบรรลุเป้าหมายก่อนกำหนด 1 ปี นั่นคืออาจจะเสร็จสมบูรณ์ได้ภายใน ค.ศ. 2003

ที่มา : ความรู้พื้นฐานด้านจีโนม.2545.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : www.charpa.co.th/bulletin/human - genomel


โดย : นางสาว ปวีณา มีธง, -, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545