วิวัฒนาการช้าง

วิวัฒนาการช้าง . 2544 (ออนไลน์) . เข้าถึงได้โดย:http://www.script.co.th/elephant/
ตามหลักฐานด้านโบราณคดีและสัตววิทยา ช้างมีวิวัฒนาการผ่านมาดังนี้

มอริเธอเรียม(Moeritherium) ถือเป็นต้นตระกูลของช้าง ยุคอีโอซีนเมื่อ 55 ล้านปี สูงราว 60 เซนติเมตร ไม่มีงา พบในอียิปต์

พาลาโอเมสโตดอน (Paraomestodon) เคยมีอยู่เมื่อ 37 ล้านปี สูง 1 เมตร 30 เซนติเมตร มีเขี้ยวล่างเขี้ยวบน

พาเลโอมาสโตดอน (Palaeomastodon) ยุคโอลิโทซีน สูง 2 เมตร เขี้ยวเริ่มยาวเป็น งาเล็ก ๆ

พลิโอเมีย ( Phiomia ) เมื่อ 35 ล้านปี สูง 1 เมตร 80 เซนติเมตร

พลูอิโอเมีย (Pluiomia) ยุคโอลิโทซีน สูง 2 เมตร 50 เซนติเมตร งวงจะเริ่มยาวขึ้น

เซอร์เด็นตินัส (Serdentinas) เมื่อ 28 ล้านปี ถือเป็นช้าง 4 งาในยุคแรก ๆ

แนททาเบลโลดอน (Nathabellodon) เมื่อ26 ล้านปี ยุคไมโอซีน สูง 2 - 3 เมตร

กอมโฟเธอเรียม (Gomphotherium) ยุคไมโอซีน เป็นช้างไทยดึกดำบรรพ เคยขุดพบซากทางภาคเหนือของไทย

ไดโนเธอเรียม (Dinotherium) สูง 3 - 4 เมตร แต่งาอยู่ขอบปากล่าง

แพลนส มาสโตดอน (Plainsmastodon) สูง 3 เมตร งางอกอยู่ที่ขอบปากบน

พลาตีบีโลดอน (Platybelodon) ยุคไพลโอซีน เมื่อ 7 ล้านปี

ไฮแลนด์ มาสโตดอน (Hilandmastodon) ยุคไพลโอซีนเช่นกัน แต่มีงาเป็นเกลียว

มอริลเลีย (Morillia) เมื่อ 7 ล้านปี เป็นช้าง 4 งาอีกสายพันธุ์หนึ่ง

พลาตีบีโลคอน (Platybelodon) มีงาคล้ายเสียมขุดดิน

แมมมอทขนยาว เคยมีเมื่อ 2 ล้านปีแต่สูญพันธ์ไปแล้วราว 25,000 ปี

แมมมอททุ่งกว้าง ยุคไพลสโตซีน เคยมีอยู่ในทุ่งกว้างทวีปอเมริกาเหนือ

มาสโตดอนอเมริกา ยุคไพลโอซีน สูง 3 เมตรครึ่ง

แอนแนคตัส ช้างงายาว เมื่อ 2 ล้านปี

แมมมอทแคระ สูงราว 90 เซนติเมตร

อิมพีเรียลแมมมอท รูปร่างสูงใหญ่พบในอเมริกาเหนือ

พาลาอีโอโซดอน (Palaeoloxodon) ช้างงาตรง สูงราว 3 เมตร

สเทโกดอน (Stegodon) ที่มีรูปร่างคล้ายช้างปัจจุบัน

ช้างเอเซียโบราณ เมื่อ 7 ล้านปี

แมมมูตุส (Mamuthus) ยุคไฮโลซีน รูปร่างใหญ่มาก สูงกว่า 4 เมตร

ช้างแคระ หรือช้างค่อม เคยมีอยู่ทางภาคใต้ของไทย แต่ปัจจุบัน………..สูญพันธุ์ไปแล้ว ( กล่าวกันว่าถูกล่าเอาไปทำเนื้อเค็มขายกินกัน )

ปัจจุบันทั้งโลกจึงเหลือช้างอยู่เพียง 2 สายพันธุ์คือ ช้างอัฟริกา และช้างเอเซีย

ช้างอัฟริกัน กำลังประสพปัญญา จากการไล่ล่า เอาชีวิตเอางาของนักล่า นักค้าผู้เห็นแก่ได้
ช้างเอเซีย ซึ่งช้างไทยจัดอยู่ในสายพันธุ์นี้ ก็ประสพปัญหาเช่นกัน ทั้งในเรื่องการถูกล่า ถูกเบียดเบียน ถิ่นที่อยู่ที่หากินตามธรรมชาติ อันล้วนแต่เป็นปัญหาที่มนุษย์สร้างให้กับช้าง

วิวัฒนาการของช้างที่ยืนยาวมากว่า 55 ล้านปี กำลังถูกกระชาก สู่บทสุดท้าย ในไม่ช้านี้ หากมนุษย์ ยังชินชา หรือโยนภาระนี้ ให้กับคำว่า ……….. ตามยถากรรม


--------------------------------------------------------------------------------



โดย : นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545