แมงดาทะเล

คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สารานุกรม วิทยาศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.

แมงดาทะเล
แมงดาทะเลไม่ใช่ของแปลกสำหรับคนไทย แต่เป็นสัตว์ที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะจัดเป็นสัตว์โบราณที่รูปร่างไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงจากอดีตเท่าใดนัก
แมงดาทะเลมีกระดองหัวขนาดใหญ่ มีตาอยู่ด้านบนลำตัวเป็นปล้อง มีขาหลังคู่และขาคู่แรกจะมีตะขออยู่ด้วย ตัวที่มีตะขอเป็นตัวผู้ที่พร้อมจะผสมพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ แมงดาทะเลจะคลานขึ้นบนชายหาดในตอนกลางคืน ตัวเมียที่มีขนาดใหญ่จะอยู่ตรงกลาง แมงดาตัวผู้จะติดตามโดยใช้ตะขอของขาคู่หน้าเกาะเกี่ยวไว้จะมีตัวผู้เพียงตัวเดียวที่ประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์ ส่วนตัวอื่นก็วนเวียนอยู่รอบข้าง
ตัวเมียจะวางไข่ในพื้นทรายหรือเลนลึกไปจากฝั่งหลายนิ้ว ตัวอ่อนจะเจริญขึ้นมาแต่จะเจริญอยู่ในไข่ในทรายจนกระทั่งประมาณ 1 เดือน เมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงได้ระดับที่ไข่ฝั่งอยู่ ตัวอ่อนจะออกจากไข่แล้วว่ายลงน้ำไป น่าเสียดายตัวอ่อนที่ฟักออกมาทีละมาก ๆ จะเหลือรอดเพียงนิดเดียว เพราะถูกปลาและสัตว์อื่นกินไปอันเป็นเกณฑ์ธรรมชาติ
การที่เรียกผู้ชายที่ให้ภรรยาหาเลี้ยงว่าเป็นแมงดาทะเลนั้น ก็ได้มาจากลักษณะที่แมงดาตัวผู้จะเกาะอยู่บนหลังตัวเมียนั้นเอง












คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สารานุกรม วิทยาศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.

แมงดาทะเล – แมงดาจาน
แมงดาเป็นสัตว์ในไฟลัมอาร์โธรโปดา คือพวกสัตว์ที่มีขาเป็นข้อ ๆ แต่แยกเป็นสายที่ใกล้เคียงกับพวกแมงมุม พวกเห็บ แมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่น่านใจปัจจุบันยังคงมีรูปร่างคล้ายเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์นับล้านปีมาแล้ว ลำตัวของแมงดาทะลเประกอบด้วยกับส่วนหัวและอกเชื่อมติดเป็นชิ้นเดียวกัน จัดเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของลำตัวถัดมาเป็นส่วนท้องและเป็นส่วนหางยาว มีตาติดอยู่ที่ส่วนด้านข้างของหัวซึ่งเป็นแผ่นแข็ง ด้านล่างมีระยางค์ 6 คู่ เป็นขาว่ายน้ำ
แมงดาในไทยมี 2 ชนิด คือ แมงดาทะเลหางเหลี่ยมหรือแมงดาจาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Tachypleusgigas Muller มีขนาดใหญ่กวาอีกชนิดหนึ่ง คือแมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เห-รา หรือแมงดาไฟทะเลชื่อวิทยาศาสตร์ Carcinosecorpius rotundicauda เรามักนิยมนำไข่แมงดาทะเลมาเป็นอาหาร เช่น มายำหรือมาแกง
จากการตรวจสอบพบว่าไข่เห-รา หรือแมงดาทะเลหางกลมนั้นพบกันแล้วว่ามีพิษ และจะพบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน ดังนั้นจึงควรระวังมากขึ้นในระหว่างเวลานั้น















โดย : นางสาว sudjai chuanun, student 4/3 kiongluang patumtani 13180, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545