ชะนีมงกุฎ

ชะนีมงกุฏ
hylobates pileatus
มีลักษณะคล้ายคลึงกับชะนีมือขาวมากในอดีตเคยจัดไว้เป็นชนิดเดียวกัน แต่ต่อมาภายหลังพบว่าไม่มีการผสมพันธุ์กันและมีเสียงร้องที่แตกต่างกันจึงแยกออกมาเป็นชะนีคนละชนิด ลักษณะที่สำคัญคือสีลำตัวจะขึ้นอยู่กับเพศของชะนี ชะนีตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีสีดำทั่วตัวยกเว้นขนคิ้วเป็นแถบขาวมีแถบสีขาวเป็นวงรอบกระหม่อมและมีขนสีขาวแข็งรอบอวัยวะเพศ ส่วนชะนีตัวเมียมีลำตัวสีเทาหรือสีเทาปนน้ำตาลอ่อนมีขนบนกระหม่อมสีดำ ดูคล้ายหมวกหรือมงกุฎและขนบนหน้าอกลงไปถึงท้องน้อยเป็นสีดำ ลูกชะนีที่ออกมาใหม่จะมีสีขาวพออายุได้ สามปีขนสีจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขนคล้ายสีขนของสีขนชะนีตัวเมีย ชะนีวัยรุ่นทั้งหมดจะมีลักษณะเหมือนตัวเมีย แต่ชะนีตัวผู้เมื่อมีอายุได้ 5-6 ปีจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำทั้งตัวจะชอบอาศัยอย่ในป่าได้หลายแบบที่มีต้นไม้สูงและมีน้ำอุดมสมบูรณ์พบในประเทศลาว เขมร และในประเทศไทย พบในป่าบนเทือกเขาพนมดงรักและแถบห้วยลำตะคลองในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปัจจุบันจัดชะนีมงกุฎไว้เป็นสัตว์คุ้มครอง
เนื่องจากชะนีมงกุฏเป็นชะนีที่มีเขตแพร่กระจายค่อนข้างแคบจำกัดอยู่ในเฉพาะบริเวณพื้นที่แถบอินโดจีน โอกาสที่ชะนัชนิดนี้จะถูกทำลายหมดสิ้นไปจึงมีอยู่สูงมากอันเป็นผลมาจากการล่าและการทำลายป่า ที่อยู่อาศัย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2540.



โดย : นางสาว yaowaret chaleekron, ripw klong luang patumtani 13180, วันที่ 11 มีนาคม 2545