กระรอกหน้ากระแต


กระรอกหน้ากระแต
hinosciurur laticaudatus
กระรอกชนิดนี้มีลักษณะที่แปลกแตกต่างจากกระรอกชนิดอื่นๆตรงที่มีส่วนปากและจมูกยาวแหลมยื่นออกทมาคล้ายปากของกระแตขนด้านหลังสัน้ำตาลแดงสีจะจางลงด้านข้างลำตัวใต้ท้องสีขาวและจะแซมสีเหลืองตรงบริเวณขอบด้านข้างหางมีขนปุยแต่ดูไม่ดกเหมือนหางกระรอกชนิดอื่นๆสีน้ำตาลแซมและมีลาย
ขวางสีจางพอมองเห็นได้ไม่ชัดเจนมากนัก มักอยู่โดดเดี่ยวหากินบนพื้นดินอาหารได้แก่มด ปลวก แมลงอื่นๆ ไส้เดือน และผลไม้อาศัยทำลังอยู่ตามโพรงไม้ออกลูกเพียงครั้งเดียวในรอบหนึ่งปี ครั้งละหนึ่งหรือสองตัว อาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้นในบริเวณที่ต่ำโดยเฉพาะในหุบเขาที่มีลำธารน้ำไหลผ่านพบกระรอกชนิดนี้แพร่กระจาย
ในบริเวณป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ของประเทศไทย มลายู สุมาตราและบอร์เนียว ในระยะหลังพบเพียงสองตัวในบริเวณจังหวัด
สุราษฎร์ธานีจัดได้ว่าเป็นกระรอกที่หาได้ยากที่สุดชนิดหนึ่งในประเทศไทย
เนื่องจากกระรอกชนอดนี้อาศัยเฉพาะในป่าดิบชื้น ซึ่งปัจจุบันได้ถูกแผ้วถางเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทำให้กระรอกหน้ากระแตมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วการดูแลรักษาพื้นที่ป่าดงดิบต่ำที่มีอยู่ในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเท่านั้น ที่จะช่วยให้กระรอกชนิดนี้คงอยู่ในประเทศไทยต่อไปได้
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2540.




โดย : นางสาว yaowaret chaleekron, ripw klong luang patumtani 13180, วันที่ 11 มีนาคม 2545