ชะมดแปลงลายจุด

ชะมดแปลงลายจุด
Prionodon pardicolor
ชะมดแปลงลายจุดเป็นชะมดแปลงชนิดหนึ่งในสองชนิดที่พบในประเทศไทย แตกต่างจากชะมดแปลงลายแถบตรงที่ลายบนลำตัวเป็นจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วไปบนพื้นมีสีน้ำตาลเหลือง หางสีเหลืองสลับปล้องดำ 9 ปล้อง ขอบใบหูสีดำ ด้านใต้ท้องสีจางกว่าด้านหลังมีสีขาวออกเหลืองและไม่มีจุดดำเลย โดยมากจะหากินอย่บนต้นไม้นานๆจึงจะลงมาหากินบนพ้นดินทำลังและพักนอนในเวลากลางวันในโพรงไม้ อาหารได้แก่สัตว์ขนาดเล็ก เช่น นก หนู แมลง ผสมพันธ์ในเดือนกุมภาพันธ์และสิงหาคม ออกลูกครั้งละ 2 ตัว อาศัยอยู่ตามป่าบนภูเขาสูงมีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ ประเทศเนปาล อินเดีย ผ่านตอนเหนือของพม่า จีนตอนใต้ ไทยและอินโดจีน สำหรับประเทศไทยพบเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเป็นสัตว์ที่หายากชนิดหนึ่งของงประเทศไทย ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์คุ้มครอง เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาอย่างจริงจัง ถึงสาเหตุที่ทำให้กลายเป็นสัตว์หายาก เชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีปริมาณในธรรมชาติค่อนข้างน้อย การบุกรุกเข้าทำลายป่าเพื่อปลูกฝิ่นหรือพืชไร่อื่นๆของชาวเขา น่าจะเป็นการทำลายแหล่งที่อยู่และแหล่งอาหาร จึงทำให้ชะมดแปลงลายจุดมีจำนวนลดลงมากกว่าเดิม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2540.





โดย : นางสาว yaowaret chaleekron, ripw klong luang patumtani 13180, วันที่ 11 มีนาคม 2545