การขับถ่าย


การขับถ่าย

การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะสุขภาพที่ดีก่อให้เกิดความสุข ความสบายทั้งทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต
การขับถ่าย คือการขับของเสียออกจากร่างกายในรูป การหายใจ การถ่ายปัสสาวะ เหงื่อ การถ่ายอุจจาระ หากเมื่อใดที่ร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ย่อมก่อให้เกิดความไม่สุขสบายตามมา
การขับถ่ายอุจจาระ เป็นกลไกหนึ่งที่เกิดขึ้น เมื่อมีการรับประทานอาหารเข้าไป ก็ย่อมขับถ่ายกากอาหารส่วนที่เหลือใช้ หรือที่ร่างกายไม่ต้องการ โดยมีองค์ประกอบของการขับถ่ายดังนี้.-
สำไส้ใหญ่ (COLON)
มีความยาวประมาณ 110-130 ซม.ประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆคือ CECUM , COLON และRECTUM
อุจจาระ (FECES หรือ STOOL)
อุจจาระ คือกากอาหารที่ถูกถ่ายทิ้ง มีประมาณ 100 กรัมต่อวัน แต่ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณและชนิดของอาหารด้วย อาหารที่มีเส้นใยอาหารมากจะทำให้มีอุจจาระมาก หรือยาปฏิชีวนะที่ฆ่าแบคทีเรียในทางเดินอาหารจะทำให้กากอาหารถูกย่อยได้น้อยกว่าที่เคย อุจจาระประกอบด้วย น้ำประมาณ 75 %และของแข็ง 25% ซึ่งได้แก่ CELLULOSE และกากใยที่ย่อยไม่ได้ เกลือน้ำดี และน้ำย่อยที่หลงเหลือออกมาบ้างเล็กน้อย แคลเซียมฟอสเฟต มูก เซลล์ที่ลอกหลุดและแบคทีเรีย ดังนั้นแม้จะไม่ได้รับประทานอาหารทางปากเลย ก็ยังมีอุจจาระได้
การเคลื่อนไหวของลำไล้ใหญ่
ในขณะที่ท้องว่างลำไส้ใหญ่จะไม่มีการบีบตัว แต่เมื่อมีการรับประทานอาหาร ลำไส้ใหญ่จะบีบตัวมากขึ้น เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้ภายหลังของการรับประทานอาหาร อาหารที่ผ่านการย่อยจากกระเพาะอาหาร จะเข้าสู่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ตามลำดับ เมื่อมีกากอาหารเข้ามาในลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ส่วน CECUM จะโป่งออก กล้ามเนื้อหูรูดซึ่งเป็นรอยต่อของลำไล้เล็กและลำไส้ใหญ่หดตัวปิดกั้นไม่ให้กากอาการย้อนกลับ เป็นระบบอัตโนมัติของร่างกายซึ่งต้องอาศัยกระแสประสาทร่วมด้วย
กลไกลการขับถ่ายอุจจาระ
การถ่ายอุจจาระ(DEFECATION) เป็นพฤติกรรมซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติ(REFLEX) และส่วนที่อยู่ในอำนาจบังคับของจิตใจ โดยทั่วไป สำไล้ใหญ่ส่วน RECTUM มักว่างเปล่าเมื่อมีการเคลื่อนไหวไล่กากอาหารลงมาดันให้ RECTUM โป่งออกจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกปวดถ่ายผนังกล้ามเนื้อหูรูดด้านในคลายตัว แต่ผนังหูรูดด้านนอกบีบตัวแน่น เส้นประสาทภายใน RECTUM ที่รับรู้การดันยืดเกิดการปรับตัวอย่างรวดเร็วหูรูด(SPHINCTER)ด้านในจึงคลายตัวเพียง 2-3 วินาที แล้วกลับปิดหดตัวเหมือนเดิม ถ้าเวลาและสถานที่ที่ยังไม่เหมาะกับการถ่ายอุจจาระ หรือไม่อยากถ่ายอุจจาระ ร่างกายสามารถบังคับให้หูรูดปิดแน่นยิ่งขึ้น แต่ถ้าต้องการถ่ายอุจจาระจะสามารถตอบสนองได้โดยการเบ่งถ่าย โดยการเพิ่มความดันในช่องท้อง โดยท่านั่งธรรมดาหรือท่านั่งยองก้มตัวไปข้างหน้า หายใจลึกๆ แล้วหายใจออกแต่ปิดปาก กล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัว ความดันในช่องท้องที่สูงขึ้นจะไล่อุจจาระลงสู่ RECTUM กล้ามเนื้อหูรูดด้านนอกคลายตัวเพื่อให้อุจจาระผ่านออกมาได้ ขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ความดันในช่องท้องจะเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันเลือดแดงสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงความดันเลือดจากการเบ่งถ่ายอุจจาระอาจรุนแรงจนเกิดผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะในคนที่มีปัญหาของหลอดเลือดในสมองและหัวใจอยู่แล้ว
ถ้าการถ่ายอุจจาระไม่เกิดขึ้นติดต่อกันหลายวัน หรือถ่ายอุจจาระไม่ถึง 3 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ ทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่มีกากน้อย กลั้นอุจจาระ การนอนป่วยหลายวัน หรือลำไส้ไม่มีการเคลื่อนไหว……../






โดย : จุ๊บจิ๊บ จุ๊บจิ๊บ -, -, วันที่ 16 พฤศจิกายน 2544