กัมมันตภาพรังสี

กัมมันตภาพรังสี นิวเคลียสของอะตอมบางชนิดมีกัมมันตรังสี หมายความว่า อะตอมไม่เสถียรและจะสลายไปในเวลาต่อไป ธาตุส่วนใหญ่ที่ไม่เสถียร เรียกว่า ไอโซดทปกัมมันตรังสีขณะที่ธาตุสลายตัวจะแผ่รังสีสามชนิดคือ แอลฟา เบตา และแกมมา การแผ่รังสีอาจเป็นอันตรายได้มาก แม้ว่าการแผ่รังสีเป็นอันตราย แต่ยังมีประโยชน์ในทางการแพทย์ คือ ใช้ฆ่าเชื้อโรคในเครื่องมือและฆ่าเซลล์มะเร็ง การแผ่รังสี รังสีแอลฟาเป็นลำแสงของอนุภาคที่มีประจุบวก ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรตอนและ 2 นิวตรอน รังสีเบตาเป็นลำแสงของอิเล็กตรอน รังสีแกมมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีรอำนาจทะลุทะลวงสูงสุดในการแผ่รังสี
ครึ่งชีวิตของสารกัมมันตรังสี เวลาที่ใช้ไปคึ่รงหนึ่งของนิวเคลียสของสารกัมมันตรังสีในการสลายตัวเรียกว่า ครึ่งชีวิตของสารนั้น ในแต่ละช่วงของครึ่งชีวิต สารกัมมันตรังสีจะสลายตัวครั้งรกครึ่งหนึ่งและอีกหนึ่งในสี่และต่อๆไปครึ่งชีวิตของสารกัมมันตรังสีแต่ละชนิดจะต่างกัน
อนุกรมของการสลายตัว ขณะที่นิวเคลียสของไอโซโทปกัมมันตรังสีสลายตัว จำนวนอนุภาคของมันที่มีอยู่จะลดลง และกลายเป็นธาตุต่างชนิด กระบวนการดำเนินต่อเนื่องจนในที่สุดได้นิวเคลียสที่เสถียร ลำดับเช่นนี้เรียกว่า อนุกรมของการสลายตัว
หน่วยเอสไอ เบกเคอเรล (Bq)เป็นหน่วยวัดกัมมันตภาพรังสี สารที่มีกัมมันตรังสีที่วัดเป็นเบกเคอเรล คือ วัดจำนวนนิวเคลียสที่สลายตัวต่อวินาที





โดย : เด็กชาย วุฒิวัฒน์ อาจหาญ, โรงเรียนภูเก็ตวิท, วันที่ 16 พฤศจิกายน 2544