ผีเสื้อภูฐาน

ผีเสื้อภูฐาน ( Bhutanitiss Lidderdalii)
ผีเสื้อภูฐานเป็นผีเสื้อหางติ่งชนิดนี้มีปีกสีออกเทาคล้ำและมีแถบเล็กๆสีขาวพาดขวางบนปีกทั้งสองคู่ ปีกคู่หลังยังมีแถบสีแดงและหางยื่นเเมื่อแผ่กว้างออกมีความกว้างประมาณ 9-10 เซนติเมตร เหนือปีกของผีเสื้อจะมีลักษณะค่อนข้างอ่อนเมื่อเปรียบเทียบกับผีเสื้อหางติ่งชนิดอื่นๆ ฤดูที่พบออกบินได้แก่ช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงออกบินของผีเสื้อที่อาศัยอยู่ในบริเวณแคว้นอัสสัม มีนิสัยชอบบินโดยการปล่อยให้กระแสลมพัดลอยไปคล้ายใบไม้แห้ง ตามปกติจะหากินอยูบนสันเขาแต่บางครั้งพบลงมาหากินในหุบเขา ขณะเกาะพักบนใบไม้มีนิสัยชอบยกปีกคู่หน้าลงไปปิดทับแถบสีแดงบนปีกคู่หลัง อันเป็นนิสัยของผีเสื้อหางติ่งชนิดอื่นๆที่มีแถบสีบนปีกหลังแบบเดียวกัน อาศัยอยู่ในป่าดงดิบเขา และทุ่งหญ้าบนสันเขาพบอาศัยอยู่ตามยอดเขาสูงในบริเวณตอนเหนือของประเทศอินเดียตลอดไปถึงแคว้นอัสสัม บริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศจีน พม่าตอนเหนือ จนถึงภาคเหนือของไทย ค้นพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทยปี พ.ศ. 2519 บนดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในปริมาณค่อนข้างชุกชุมในธรรมชาติ แต่ถูกจับไปขายในปีละมากๆ เนื่องจากผีเสื้อภูฐานที่พบในบริเวณดอยเชียงดาวมีจำนวนไม่มากนักและกำลังลดลงอย่างนรวดเร็ว ระยะเวลาการออกบินก็ค่อนข้างสั้นผีเสื้อชนิดนี้จึงมีราคาสูงในตลาดนักสะสมผีเสื้อ นักจับผีเสื้อขายเป็นอาชีพกำลังระดมกันจับผีเสื้อภูฐานจนน่ากลัวว่าผีเสื้อกลุ่มเดียวในประเทศไทยชนิดนี้จะหมดไปจากประเทศในอีกไม่ช้า
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2540.



โดย : นางสาว yaowaret chaleekron, ripw klong luang patumtani 13180, วันที่ 24 มีนาคม 2545