แมวป่าหัวแบน

แมวป่าหัวแบน
Prionailurus planiceps
เป็นแมวป่าขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่พบในประเทศไทยเมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนัก 1.5 – 2.2 กิโลกรัม ลักษณะพิเศษเด่นกว่ามากกว่าแมวป่าชนิดอื่นๆ ตรงที่ส่วนหัวยาวแบนใบหูสองข้างแยกห่างกันและอยู่ในระดับต่ำกว่าแนวบนสุดของส่วนหัวทำให้หัวมีลักษณะแบนเห็นได้อย่างชัดเจน ขาและหางสั้น อุ้งเท้ายาวและแคบลักษณะคล้ายกับอุ้งเท้าของเสือปลา สีขนบนลำตัวสีน้ำตาลแก่จนถึงสีน้ำตาลเทาไม่มีจุดหรือลายบนลำตัว ยกเว้นบนส่วนหางปลายขนส่วนใหญ่เป็นสีขาวสีเทา หรือสีเนื้อ ทำให้เห็นเป็นสีขาว แซมปะปลายคล้ายผมหงอกขนบริเวณปาก คางและหน้าอกสีขาวมีแถบขาวข้างจมูกข้างละแถบ ชอบหากินใกล้น้ำ จับปลา กบ เขียด และ สัตว์เล็กอื่นๆเป็นอาหาร อาศัยอยู่ในป่าพุ ในที่ราบต่ำหรือป่าทึบที่มีลำธารไหลผ่าน เขตแพร่กระจายเริ่มจากภาคใต้ของไทย แหลมมลายู สุมาตรา และบอร์เนียว ในประเทศไทยพบที่จังหวัดปัตตานีเมื่อ ปี พ.ศ.2530 พบในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ป่าพุจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
เนื่องจากมีจำนวนอยู่น้อยและเนื้อที่ป่าพุมีแมวป่าชนิดนี้อาศัยอยู่เพียงแห่งเดียว คือ ในจังหวัดนราธิวาส จึงจัดเป็นสัตว์ป่าที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของประเทศไทย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2540.




โดย : นางสาว yaowaret chaleekron, ripw klong luang patumtani 13180, วันที่ 24 มีนาคม 2545