ทุ้งฟ้า

ทุ้งฟ้า
ชื่อพื้นเมือง กระทุ้งฟ้าไห้ ทุ้งฟ้าไก่ (ชุมพร) ตีนเทียน (สงขลา) ทุ้งฟ้า (ภาคใต้) พวม พร้าว (ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia macrophylla Wall
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้น เป็นรอบๆ เรือนยอดรูปไข่แกมรูปกรวยแหลมค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีขาวอมเทามีน้ำยางสีขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงรอบข้อข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ กว้าง 3-7.5 ซ.ม. ยาว 10-30 ซ.ม. ปลายเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีเขียว
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ
ผล เป็นฝักเรียวยาว ขนาดเล็ก ออกเป็นคู่ พอแก่จะแตกและบิดเป็นเกลียว ปล่อยให้เมล็ดที่มีขนสีขาวปลิวไปตามลม
แหล่งที่พบ ขึ้นประปรายในป่าดงดิบ และพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางมาก่อนทางภาคใต้
การออกดอก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้ที่ต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโต ได้ดีในสภาพดินลึกและมีการระบายน้ำได้ดี หรือในกระบวนการเกษตร
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ ใช้ทำพื้นกระดาน ฝา รองเท้าไม้ หีบ ลังใส่ของ เครื่องเรือน เครื่องใช้ แจว พาย กรรเชียง และยังเหมาะสำหรับที่จะน้ำไปผ่านเป็นชิ้นบางๆ เพื่อทำผิวหน้าไม้อัด
ประโยชน์ทางยา เปลือกต้น บำรุงกำลังและบำรุงกำหนัด แก้ไข้ แก้ไข้ป่า แก้บิด ขัดระดู รักษาบาดแผล

ทุ้งฟ้าเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดกระบี่

สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มติชน,2543






โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 7 เมษายน 2545