สีเสียดแก่น

สีเสียดแก่น
ชื่อพื้นเมือง สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สีเสียด (ภาคเหนือ) สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดแก่นเหนือ สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ Catechu Tree,Cutch Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu Willd
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร เรือนยอดโปร่ง ตามลำต้นและกิ่งมี หนามแหลมโค้งทั่วไป เปลือกสีเทาคล้ำหรืออมน้ำตาลค่อนข้างขรุขระ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ก้านใบย่อยขึ้นตรงข้ามกัน ใบรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดเล็กมาก ฐานใบเบี้ยวมีขนปกคลุมห่างๆ
ดอก ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือขาวอมเหลืองไม่มีก้านดอก ดอกมีจำนวนมาก ออกช่อคล้ายหางกระรอกแตกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ
ผล เป็นฝักรูปบันทัดแบนยาวประมาณ 5-10 เซ็นติเมตรเมล็ดแบนสีน้ำตาลอมเขียว
แหล่งที่พบ ขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทางหนือป่าละเมาะบนพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งทั่วไป
การออกดอก ระหว่างเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคมเป็นผลระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม
การปลูกและการบำรุงรักษา ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ไม่
ชอบน้ำขังควรปลูกในฤดูฝน
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ นิยมใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่ตากแดดและต้องงรับน้ำหนักมากเช่น เสา ตง คาน สะพาน ด้วยเครื่องมือทางด้านเกษตรกรรมไถ คราด ด้ามมีดหน้าไม้ กังหันน้ำหมอนรางรถไฟ ขลุ่ย
แก่น ให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับใช้ย้อมผ้า แห อวน
ประโยชน์ทางยา เปลือกต้น ใช้ประกอบกับสมุนไพรอื่นปรุงเป็นยาแก้บิด เมื่อต้มกับน้ำแล้วใช้ล้างแผลเน่าเปื่อยได้
แก่น มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ท้องร่วง ภายนอกใช้ฝนรักษาแผลและโรคผิวหนัง
เมล็ด นำมาฝนเป็นยาทาแก้โรคหิด
วิธีทางยา 1.รักษาโรคน้ำกัดเท้า แก่นที่นำมาต้มเคี่ยวจนข้นเทลงพิมพ์ ปล่อยให้เย็นจนเป็นแผ่นเรียกว่า ก้อนสีเสียด ใช้ก้อนสีเสียดฝนกับน้ำข้นๆทาบริเวณที่น้ำกัดเท้าวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย
2.เป็นยาแก้ท้องร่วงท้องเสีย บดก้อนสีเสียดให้เป็นผงใช้ประมาณครึ่งช้อนชา ต้มเอาน้ำดื่มแก้ท้องเดิน หรืออาจผสมผงสีเสียดกับผงอบเชยในปริมาณเท่าๆกันต้มกับน้ำประมาณ 240 มิลลิลิตรนาน 2 ชั่วโมง กรองใช้ดื่มครั้งละ 30 มิลลิลิตรวันละ 3 เวลา
สีเสียดแก่นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร



สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มติชน,2543





โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 7 เมษายน 2545