นนทรีป่า

นนทรีป่า
ชื่อพื้นเมือง กว่าเซก (เขมร-กาญจนบุรี) คางรุ้ง คางฮ่ง (พิษณุโลก) จ๊าขาม ช้าขม(ลาว) ตาเซก (เขมร-บุรีรัมย์) นนทรีป่า(ภาคกลาง)ราง (ส่วย-สุรินทร์) ร้าง อะราง อะล้าง (นครราชสีมา) อินทรี (จันทบุรี)
ชื่อสามัญ Copper pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum dasyrachis Kurz,ex BaKer
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นสีทองหรือสีเทาอมน้ำตาลค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย เปลือกในสีน้ำตาลปนแดง
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน
ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองสด กลีบดอกมีลักษณะย่น
ผล เป็นฝักแบนรูปหอก ปลายแหลม สีน้ำตาลแดง มีเมล็ดเรียงตามขวางในฝัก 4-8 เมล็ด
แหล่งที่พบ ขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามชายป่าดงดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือจะขึ้นตามป่าโปร่งขึ้น
การออกดอก ผลิดอกพร้อมกับใบอ่อนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม ฝักแก่ระหว่างเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม
การปลูกและการบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ ใช้ทำกระดานปูพื้น ฝา เพดาน ทำเครื่องเรือนไม้บุผนังที่สวยงาม คันไถ หีบใส่ของ พานท้ายและรางปืน ทำด้ามเครื่องมือกสิกรรม
ประโยชน์ทางยา เปลือก มีรสฝาด ใช้เป็นยาขับลม ขับโลหิต แก้ท้องร่วงปิดธาตุ กล่อมเสมหะและโลหิต ขับโลหิตระดู แก้ปากเปื่อย
นนทรีป่าเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มติชน,2543





โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 7 เมษายน 2545