ประดู่ป่า


ประดู่ป่า
ชื่อพื้นเมือง จิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ฉะนอง (เชียงใหม่) ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ) ตะเลอ
เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่ ประดู่เสน (ราชบุรี สระบุรี)
ชื่อสามัญ Bermese Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15—25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็น
สะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้ขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง
เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่ง
ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
ผล แผ่เป็นปีกแบนๆ มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป
แหล่งที่พบ ขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป
การออกดอก ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน ผลแก่เดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วน ทนแล้งได้
แม้แต่สภาพดินลูกรัง ต้องการน้ำปานกลาง
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ ใช้ในการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ทำเครื่องแกะสลัก ทำด้ามเครื่องมือ ฯลฯ
ประโยชน์ทางยา แก่น รสขมฝาดร้อน ใช้บำรุงโลหิต แก้กระษัย แก้คุดทะราด
ประดู่ป่าเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชลบุรี



สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มติชน,2543



โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 7 เมษายน 2545