มะตูม

มะตูม
ชื่อพื้นเมือง กะทันตาเถร ตุ่มตัง (ลานช้าง) ตูม (ปัตตานี) พะโนงค์ (เขมร) มะตูม (ภาค
กลาง,ภาคใต้) มะปิน (ภาคเหนือ)มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ Bael Fruit Tree, Bengal Quince
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marnelos (L.) Corr
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือก
สีเทา เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ
ดอก ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
ผล เป็นรูปไข่แข็งมาก เนื้อสีเหลือง มียางเหนียว เมล็ดรูปรี
แหล่งที่พบ เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศอินเดีย ศรีลังกา และประเทศออสเตรเลีย ใน
ประเทศไทย
พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้
การออกดอก ระหว่างเดือนมีนาคม- เดือนพฤษภาคม ผลแก่ระหว่างเดือนธันวาคม- เดือน
กุมภาพันธ์
การปลูกและการบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเล็ดและตอนกิ่ง เป็นไม้กลางแจ้งที่ทนต่อความ

ร้อน เจริญเติบโดได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้น
ปานกลาง
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ ละเอียด สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม เมื่อยยังสดใช้ทำตัวเกวียน เพลาเกวียน หวี
ยาง ยางจากผลผลิตผสมสีใช้ในงานเขียนจิตรกรรมฝาผนังแทนกาว
ประโยชน์ทางยา ใบใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร และเป็นยาแก้โรคลำไส้
ผลอ่อน รสฝาดร้อน หั่นผึ่งให้แห้ง บดเป็นผง หรือต้มรับประทาน แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย แก้
บิด แก้โรคกระเพาะอาหาร เจริญอาหาร ขับลม
มะตูมเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชัยนาท

สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มติชน,2543





โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 7 เมษายน 2545