ขี้เหล็กบ้าน

ขี้เหล็กบ้าน
ชื่อพื้นเมือง ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ผักจีลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) มะขี้เหละพะโดะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี)
ชื่อสามัญ Thai Copper Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia siamea Lamk
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีเทาอมน้ำตาลแตกตามยาวเป็นร่อง
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ มีใบย่อย 7-10 คู่ แผ่นใบรูปขอบขนาน
ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 20-30 ซ.ม. ฝักแบนสีน้ำตาล
แหล่งที่พบ ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณชื้นและในที่โปร่งชุ่มชื้นทั่วประเทศ เช่น จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และ ชุมพร
การออกดอก เกือบตลอดทั้งปี
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทั่วไป ทนแล้งได้
ดี ควรปลูกในฤดูฝน
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เช่น เสา รอด ตง เครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือ
เกษตรกรรม ทำลูกหีบ กระสวย ด้ามร่ม
ดอกใบและยอดอ่อน ใช้ประกอบเป็นอาหารได้
ประโยชน์ทางยา ใบ รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ระดู
ขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิต
ดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้โรคนอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยา
ระบาย
ขี้เหล็กบ้านเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ

สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มติชน,2543



โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 7 เมษายน 2545