มะเดื่อชุมพร

มะเดื่อชุมพร

ชื่อพื้นเมือง กูแซ (กะเหรี่ยง –แม่ฮ่องสอน) เดื่อเกลื้อง (ภาคกลาง,ภาคเหนือ) เดื่อน้ำ
(ภาคใต้) มะเดื่อ (ลำปาง) มะเดื่อชุมพร มะเดื่ออุทุมพร (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ Cluster Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus racemosa Linn
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆ
ต่อมาจะหลุดร่วงไป
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบทู่ถึง
กลม ก้านใบยาว 10.5 ซ.ม.
ดอก ขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุก
ผล รูปไข่กลับ เมือสุกสีแดงเข้มถึงม่วง
แหล่งที่พบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้
การออกดอก ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนสิงหาคม และเป็นผลระหว่างเดือน
พฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดิน
ร่วนเชิงเขาและมีอินทรียวัตถุสูง ความเป็นกรดของดินปานกลาง มีการ
ระบายน้ำได้ดี
ประโยชน์ทั่วไป ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง
ประโยชน์ทางยา ราก แก้พิษไข้ ไข้กาฬ แก้ร้อนใน
วิธีใช้ทางยา 1. ใช้แก้อาการท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค) ใช้เปลือกต้นสดหรือแห้งประมาณ 1-2 กำมือ หรือหนัก 15—30 กรัม ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 รับประทานวันละครั้ง
2. แก้ไข้ ลดความร้อน ใช้รากแห้ง 1 กำมือ หรือ 15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคียวให้เหลือ 1 แก้ว ดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร
มะเดื่อชุมพรเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชุมพร


สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มติชน



โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 7 เมษายน 2545