ทองกวาว

ทองกวาว
ชื่อพื้นเมือง กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทอง
พรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree Kind tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma Kuntze
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8-15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบออกสลับกัน ใบย่อยรูปไข่กลับ
ดอก ขนาดใหญ่รูปถั่ว สีเหลืองถึงแดงแสด ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง
ยาว 2-15 ซ.ม. กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 7 ซ.ม.
ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบน กว้างประมาณ 3-5 ซ.ม. ยาวประมาณ 14 ซ.ม. มี
เมล็ด 1-2 เมล็ดที่ปลายฝัก
แหล่งที่พบ ขึ้นตามที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้า หรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทาง
ภาคเหนือ ส่วนภาคอื่นขึ้นกระจัดกระจาย ยกเว้นภาคใต้
การออกดอก ระหว่างเดือนธันวาคม-เดือนมีนาคม
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดิน
ร่วนหรือร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ประโยชน์ทางยา แก่น ทาแก้ปวดฟัน
ราก ประคบบริเวณที่เป็นตะคริว ขับพยาธิ
ดอก แก้ไข้ ขับปัสสาวะ หยอดตา แก้ตาแดง
ข้อควรระวัง พบสารในเมล็ดออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน มีผลเสียต่อสตรีที่กำลังตั้งครรภ์
ทองกวาวเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่
สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มติชน,2543





โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 7 เมษายน 2545