หูกวาง

หูกวาง
ชื่อพื้นเมือง โคน(นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก,สตูล) ตาแปห์ (มลายู-
นราธิวาส) หลุมปัง (สุราษฎรธานี) หูกวาง (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ Bengal Almond, Almond, Sea Almon
ชื่อวิทยาศาสตร์ Treminalia catappa Linn
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8-25 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนว
นอนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 8-15 ซ.
ม. ยาว 12-25 ซ.ม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบแคบเว้า มีต่อม1 คู่
ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีลักษณะเป็นแท่งยาว 5-12
ซ.ม. มีดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกสมบูรณ์เพศอยู่บริเวณโคนช่อ กลีบเลี้ยง
โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก ไม่มีกลีบดอก
เกสรเพศผู้มี 10 เส้น
ผล เป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อมๆ แบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 ซ.ม. ยาว 3-7 ซ.ม. เมื่อ
แห้งสีดำคล้ำ
แหล่งที่พบ ชอบขึ้นอยู่ตามป่าชายหาด หรือตามโขดหินริมทะเล
การออกดอก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน และเดือนสิ่งหาคม-เดือนตุลาคม
การปลูกและบำรุงรักษา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนปน
ทราย และในดินที่มีการระบายน้ำได้ดี
ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้าง
เปลือก ใช้ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก
เมล็ด ใช้ผลทานได้ให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอลด์
ผล เมล็ดในผลทานได้
ประโยชน์ทางยา เปลือก มีรถฝาดมาก ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย
ราก ใช้แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ
ทั้งต้น เป็นยาสมานแก้ไข้ แก้ท้องร่วงเป็นบิด ใช้เป็นยาระบาย
หูกวาง เป็นพันธ์ไม้ประจำจังหวัดตราด


สุทัศน์ จูงพงศ์. สมุนไพรพันธุ์ไม้มงคล พระราชทานประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: มติชน,2543




โดย : นาย thawat hongsaton, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 7 เมษายน 2545