ฝนดาวตกลีโอนิดส์


ฝนดาวตกคืออะไร ?
นักดาราศาสตร์ศึกษาถึงที่มาของฝนดาวตก หรือฝนอุกกาบาต พบว่าอุกกาบาตเหล่านี้ ต่างโคจรรอบดวงอาทิตย์ในเส้นทางของดาวหางบางดวงและได้ข้อสรุปชัดเจนว่า ฝนดาวตกมีความสัมพันธ์กับดาวหาง
ดาวหางเป็นวัตถุท้องฟ้าอย่างหนึ่ง คล้ายก้อนน้ำแข็งสกปรกของหินและฝุ่น เกาะกันอยู่ด้วยก๊าชและน้ำแข็งที่แข็งตัว เมื่อดาวหางโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้น้ำแข็งรอบนอกระเหิดออก ปล่อยซากเศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ กระจายเป็นธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ ไปตามเส้นทางโคจรของดาวหาง เมื่อโลกเคลื่อนที่ผ่านธารอุกกาบาตเหล่านี้ จึงดูดเศษหินและเศษโลหะเหล่านั้น ให้วิ่งเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลก ด้วยความเร็วสูง ความร้อนจากการเสียดสีกับบรรยากาศ เกิดเป็นลูกไฟสว่าง เรียกว่า ฝนดาวตก
ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล กับฝนดาวตกลีโอนิดส์
ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล ค้นพบโดย วิลเฮล์ม เทมเพล ละฮอแรส ทัดเทิล ในปี พ.ศ.2408 เป็นดาวหางคาบสั้น โคจรรอบดวงอาทิตย์ในคาบ 33.2 ปี วงโคจรรูปวงรี ซึ่งดาวหางนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางหัวดาวหางราว 1.9 กิโลเมตร จึงเป็นดาวหางที่ไมาสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า นอกจากจะอยู่ในสภาพท้องฟ้าที่ดีเยี่ยม แต่สามารถมองเห็นได้หากใช้กล้องโทรทรรศน์หรือใช้กล้อง 2 ตาขนาดใหญ่ส่องสังเกต
เป็นที่รู้กันดีว่า ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล เป็นแหล่งกำเนิดของซากเศษฝุ่น ต้นกำเนิดของฝนดาวตกลีโอนิดส์ซึ่งปรากฏในเห็นในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ในปีอื่น ๆ ฝนดาวตกลีโอนิดส์เบาบาง จำนวนราว 10 ดวง ต่อชั่วโมงเท่านั้น แต่ในปี 2541 ดาวหางจะโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงคาดหมายว่า น่าจะเกิดปรากฎการณ์พายุฝนดาวฝนดาวตก ในปี 2541 แต่ไม่เป็นตามคาด จึงติดตามเฝ้าดูกัน อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 ก็ยังถือว่าเป็นฝนดาวตกที่น่าดูอยู่
หลังจากดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดแล้ว ขณะเดินทางห่างออกไป เส้นทางห่างออกไป เสนทางโคจรของดาวหางตัดผ่านเส้นทางโคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นมุม 17 องศา ซึ่งโลกเคลื่อนที่มาถึงจุดตัดดังกล่าว ในช่วงวันที่ 17-18-19 พฤศจิกายนของทุกปี



โดย : นาย อภิวัฒน์ สุขโกษา, รร. ศรีสำโรงชนูปถัมภ์, วันที่ 17 พฤศจิกายน 2544