เทคโนโลยีที่ช่วยให้มีบุตรได้

การแก้ไขภาวะการมีบุตรยาก
คู่แต่งงานที่มีบุตรยากสามารถมีบุตรได้โดยใช้เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์มาช่วยได้ ซึ่งมีหลายวิธี ถ้าภาวะการมีบุตรยากเกิดจากเพศหญิง และแพทย์วิเคราะห์แล้วพบว่า ความผิดปกตินั้น ทำให้ไข่ไม่สามารถพบกับอสุจิได้ โดบทั่วไปแพทย์จะดำเนินการ ดังนี้
1. ฉีดฮอร์โมนที่ประกอบด้วย FSH ( Follicle stimulating hormone ) และ LH ( Lutinizing hormone ) กระตุ้นให้มีการตกไข่หลายเซลล์
2. ทำอัลตราซาวด์ดูจำนวนและขนาดของไข่ เมื่อพบว่าไข่สุกเต็มที่จะฉีดฮอร์โมนฮิวแมนโคริโอนิกโกนาโดโทรฟิน ( Human chorinic gonadotrophin = HCG ) ซึ่งผลิตจากรกของเด็กในครรภ์ และฮอร์โมนนี้มีอนุพันธุ์คล้ายกับ LH จึงใช้กระตุ้นการตกไข่ได้
3. ใช้กล้อง ( Laparoscope ) ส่องเข้าช่องท้องเพื่อหาตำแหน่งไข่
4. ใช้เข็มเจาะผ่านทางช่องท้องเพื่อดูดเอาไข่ออกมา หรืออาจใช้อัลตราซาวด์
5. ทำให้ไข่ได้ผสมกับอสุจิ
( ภรณี อุทโยภาศ, 2541 : 151 )





การทำกิ๊ฟ ( Gamete intra - follopian gift )
การทำกิ๊ฟเป็นการฉีดอสุจิผ่านท่อเปิดปีกมดลูก เพื่อให้ไข่ได้ผสมกับอสุจิตามธรรมชาติที่ปีกมดลูก
โดยกระบวนการนี้ จะมีการกระตุ้นให้ตกไข่และใช้กล้องส่องผ่านผนังหน้าท้องเช่นกัน
( สุเทพ ดุษฎีวิทยา, 2540 : 94 ) ส่วนภรณี อุทโยภาศ ( 2541 : 151 ) กล่าวว่า เป็นการนำไข่ที่ถูกดูดออกมานำไปผสมกับอสุจิ แล้วใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ทันที ซึ่งสอดคล้องกับศิริพรต ผลสินธุ์ ( 2536
: 261 ) ที่กล่าวว่าเป็นวิธีการนำไข่ของฝ่ายภรรยาผสมกับอสุจิของสามีที่คัดเลือกแล้วว่าแข็งแรง หลังจากนั้น จึงฉีดกลับเข้าไปในท่อนำไข่

การทำทารกในหลอดแก้ว ( In - vitro fertilization หรือ Test tube baby )
การทำทารกในหลอดแก้วมีวิธีการ ดังนี้
1. นำไข่ที่คัดเลือกแล้วไปเลี้ยงในจานหลุมหรือหลอดแก้วนานประมาณ 4-6 ชั่วโมง
2. ใส่อสุจิลงไปผสมแล้วนำไปเลี้ยงในตู้อบที่มีอุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามที่กำหนด
3. นำไข่ตามข้อ 2 มาตรวจว่าเกิดการปฏิสนธิหรือไม่
4. ถ้ามีการปฏิสนธิ ตัวอ่อนที่ได้จะถูกนำกลับไปสู่ท่อนำไข่หรือมดลูกของแม่
ส่วนตัวอ่อนที่เหลือจะถูกแช่ไนโตรเจนเหลวและถูกนำไปใช้เมื่อไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
การทำ TESE ( Testicular sperm extraction )
การทำ TESE ใช้ในกรณีที่เพศชายไม่มีอสุจิอยู่ในน้ำอสุจิเลย มีวิธีการดังนี้
1. ผ่าตัดหรือเจาะดูดเอาเนื้อเยื่อของลูกอัณฑะออกมา ( ประมาณเท่าหัวไม้ขีด )
2. นำเนื้อเยื่อไปบดให้ละเอียดในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อน
3. นำไปเพาะในตู้อบที่มีอุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กำหนด
4. นำมาตรวจหาอสุจิและคัดเลือกเพื่อนำไปใช้ผสมกับไข่ที่เตรียมไว้ในกระบวนการทารก
ICSI
การทำ ICSI ( Intracytoplasmic sperm injection )
การทำ ICSI มีวิธีการดังนี้
1. ใช้เข็มขนาดเล็กมาก ( ประมาณ 3.5 ไมครอน ) ดูดอสุจิ
2. นำอสุจิที่ดูดอยู่ในเข็มฉีดใส่เข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง
3. นำตัวอ่อนคืนเข้าสู่ท่อนำไข่หรือมดลูกของแม่
วิธีการนี้จะใช้จำนวนอสุจิเท่ากับจำนวนเซลล์ไข่
( ภรณี อุทโยภาศ, 2541 : 152 )
การโคลนนิ่ง
โคลนนิ่งเป็นกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่จะต้องอาศัยไข่ แต่ไม่ต้องใช้อสุจิ และใช้การถ่ายโอนนิวเคลียส
ขั้นตอนการโคลนนิ่ง ( Clonning )
1. นำไข่ของสัตว์ที่ต้องการโคลนนิ่งมา 1 เซลล์ ซึ่งจะใช้เซลล์ไข่ของสัตว์ต้นแบบหรือไม่
ก็ได้ แต่ต้องเป็นประเภทเดียวกัน
2. เซลล์ทั่วไปของสัตว์ต้นแบบที่ต้องการ 1 เซลล์ ซึ่งเซลล์นี้จะได้มาจากอวัยวะส่วนใดก็ได้
3. นำนิวเคลียสของไข่ออกจากไข่ แล้วนำนิวเคลียสเซลล์ทั่วไปของเซลล์สัตว์ต้นแบบใส่
เข้าไปแทน
4. กระตุ้นไข่ด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ เพื่อให้แบ่งเซลล์
5. เมื่อไข่แบ่งเซลล์ได้ระยะหนึ่ง นำไข่ที่ได้ไปฝังในมดลูกของแม่ฝาก ซึ่งแม่ฝากอาจจะเป็น
สัตว์เพศเมียที่ไม่ได้เป็นเจ้าของเซลล์ต้นแบบก็ได้
( ชัยวัฒน์ คุประตะกุล, 2541 : 20 )
หมายเหตุ การทำโคลนนิ่งยังไม่มีการอนุญาตให้ทำในคน






โดย : นาง วิไลวรรณ วิฑูรย์สฤษฎ์ศิลป์, ร.ร วัดอินทาราม บางยี่เรือ เขตธนบุรี ธนบุรี กรุงเทพฯ 20000, วันที่ 9 เมษายน 2545